การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีโคกเมือง"
โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
กุฏิฤาษีโคกเมือง หมู่ที่ ๖ บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถาน ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา
องค์ประกอบของโบราณสถาน...
๑.ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาด
๗x๗ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเป็นมุขยื่น ยาวออกไปเป็นประตูเข้าออก มีขนาดประมาณ ๒.๒๐x๓.๒๐ เมตร
๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีขนาดประมาณ ๔x๗.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ภายในกำแพงแก้ว
๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๖.๗๐x๓๕.๔๐ เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูเป็นหินทราย ซุ้มประตูแบ่งเป็น ๓ คูหา คูหาช่องซ้ายขวามีช่องหน้าต่างทั้งด้านนอกและด้านในข้างล่ะ ๑ ช่อง คูหากลางมีมุขหน้าขนาด ๔x๒.๕๐ เมตร และมุขหลังมีขนาด ๔x๔.๗๐ เมตร
๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกุฏิฤาษี ด้านทิศตะวันออกตรงแกนกลางมีบารายหรือสระน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ ๕๐๐x๘๐๐ เมตร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทะเลเมืองต่ำ และห่างจากกุฏิฤาษีโคกเมืองไปด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ(จำนวนผู้เข้าชม 433 ครั้ง)