กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
•
นอกเหนือจากทับหลังชิ้นสำคัญที่พบจากกลุ่มปราสาทประธานจำนวน 3 ชิ้น ซึ่ง 1 จาก 3 ชิ้น จะเดินทางกลับถึง #ประเทศไทย อีกไม่กี่ชั่วโมงนับจากนี้ หลังจากที่ถูกลับลอบเคลื่อนย้ายไปอยู่ต่างประเทศหลายสิบปี โดยสวัสดิภาพ แล้ว
•
จากการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทหนองหงส์ เมื่อปี 2545 พบทับหลังหล่นอยู่ในบริเวณปราสาทหนองหงส์ ด้านทิศตะวันออก อีกจำนวน 3 ชิ้น ดังนี้
•
1. #ทับหลังสลักภาพบุคคลยืนเหนือหงส์ มือซ้ายจับขาหน้าของสัตว์ชูขึ้น คล้ายภาพในนารายณ์อวตารตอน พระกฤษณะปราบหมูป่า สภาพเกือบสมบูรณ์ พบบริเวณกริด 6J (พบบริเวณโคปุระด้านทิศตะวันออก) จำนวน 1 ชิ้น กำหนดอายุในราวครึ่งหลัง พุทธศตวรรษที่ 16
•
2. #ทับหลังสลักภาพลายท่อนพวงมาลัย ภาพตรงกลางกะเทาะหายไป พบบริเวณกริด 11I (พบบริเวณลานด้านหน้าฐานไพทีของปราสาทหลังทิศเหนือ) จำนวน 1 ชิ้น กำหนดอายุในราวช่วงครึ่งหลัง พุทธศตวรรษที่ 16
•
3. #ทับหลังสลักภาพเทวดาประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ ภายในซุ้มบนสัตว์พาหนะ(โค/กระบือ) เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย พบบริเวณกริด 27L (พบบริเวณโคปุระด้านทิศตะวันตก) จำนวน 1 ชิ้น กำหนดอายุในราวช่วงครึ่งหลัง พุทธศตวรรษที่ 16
•
โดยปัจจุบัน ทับหลัง ทั้งหมด ถูกเก็บรักษา ไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หากมีโอกาส โดยจัดเเสดงบริเวณ อาคารศิลาจำหลัก หากมีโอกาส ก็เดินทางมาเยี่ยมชมกันครับ
•
ขอขอบคุณกรมศิลปากร หน่วยงาน บุคคล และทุกภาคส่วนที่มีส่วนช่วยให้มรดกวัฒนธรรมชาติ ได้กลับสู่ผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง
(จำนวนผู้เข้าชม 697 ครั้ง)