การตรวจสอบโบราณสถาน บ้านระนุก ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
การตรวจสอบโบราณสถาน บ้านระนุก ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ที่ตั้ง บ้านระนุก ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างปราสาทสังข์ศิลป์ชัยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๔ กิโลเมตร โบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านระนุก มีลักษณะเป็นเนินดินสูงจากระดับผิวถนนประมาณ ๒ เมตร บนเนินมีศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยปัจจุบัน อยู่ทางทิศใต้ของเนิน อาคารโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เป็นอาคารก่ออิฐจำนวน ๒ หลัง ดังนี้
๑. อาคารหมายเลข ๑ แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑.๕๐ x ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารหมายเลข ๒ (ด้านหน้า) สันนิษฐานว่าเป็นธาตุ หรือเจดีย์ หลักฐานที่คงเหลือ คือ ส่วนฐานและเรือนธาตุ ส่วนยอดพังทลาย ฐานก่อเป็นฐานบัว
๒. อาคารหมายเลข ๒ แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๗ x ๙ เมตร อาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลักฐานที่ยังคงเหลือ คือ ผนังอาคารด้านหลัง(ทิศตะวันตก) เป็นผนังก่ออิฐ ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ และฐานชุกชีซึ่งก่อติดผนังทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออกยังปรากฏร่องรอยบันไดทางขึ้น
โบราณวัตถุที่พบจากการเดินสำรวจบริเวณโดยรอบเนินโบราณสถาน พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผากระจายตัวบริเวณปลายเนินดินเล็กน้อย ส่วนมากเป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน (Earthenware) พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนจำนวน ๑ ชิ้น กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๖
๑. อาคารหมายเลข ๑ แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑.๕๐ x ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารหมายเลข ๒ (ด้านหน้า) สันนิษฐานว่าเป็นธาตุ หรือเจดีย์ หลักฐานที่คงเหลือ คือ ส่วนฐานและเรือนธาตุ ส่วนยอดพังทลาย ฐานก่อเป็นฐานบัว
๒. อาคารหมายเลข ๒ แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๗ x ๙ เมตร อาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลักฐานที่ยังคงเหลือ คือ ผนังอาคารด้านหลัง(ทิศตะวันตก) เป็นผนังก่ออิฐ ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ และฐานชุกชีซึ่งก่อติดผนังทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออกยังปรากฏร่องรอยบันไดทางขึ้น
โบราณวัตถุที่พบจากการเดินสำรวจบริเวณโดยรอบเนินโบราณสถาน พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผากระจายตัวบริเวณปลายเนินดินเล็กน้อย ส่วนมากเป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน (Earthenware) พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนจำนวน ๑ ชิ้น กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๖
(จำนวนผู้เข้าชม 1308 ครั้ง)