ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานได้รับแจ้งข้อมูลการพบร่องรอยโบราณสถานในเขตตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานได้รับแจ้งข้อมูลการพบร่องรอยโบราณสถานในเขตตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
1.ข้อมูลเบื้องต้นแหล่งโบราณสถานชื่อ “บาพระเจ้า” ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ พิกัด 16°15'13.11"น 102°22'40.58"ตะวันออก 48 Q 219735.00 ม. ตะวันออก 1798787.00 ม. เหนือ (48 QTD 197987 มาตราส่วน 1:50,000 WGS 84 อำเภอหนองเรือ พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD L7018 ระวาง 5441 I ) ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้เป็นพื้นที่ครอบครองของเอกชน คือ นางทองเหลือง นันทชน ราษฎรบ้านหนองพอก
2.สภาพที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพโดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศเหนือ บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศใต้ บ้านโนนตุ่น ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ทิศตะวันออก บ้านหนองดินดำ ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 480.00 เมตร มีลำห้วยไผ่ ไหลผ่าน ทิศตะวันตก บ้านโนนทัน ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 350 เป็นถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนอง พอก – หนองหญ้าปล้อง
3.การเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณสถาน จากที่ว่าการอำเภอแก้งคร้อ เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ประมาณ 650 เมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2389 ประมาณ 21.5 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตำบลหนองสังข์เลี้ยวขวา ประมาณ 1.5 กิโลเมตรถึงบ้านหนองพอกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนองพอก – หนองหญ้าปล้อง ประมาณ 1.7 กิโลเมตร แหล่งโบราณสถานอยู่ด้านซ้ายมือ ห่างจากถนนสายท้องถิ่นประมาณ 350 เมตร
4.สภาพแหล่งโบราณสถาน โบราณสถานปัจจุบันเป็นเนินดินขนาดเล็กอยู่ในสภาพพังทลายและถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกต้นไผ่ บนเนินปรากฏกลุ่มศิลาแลงก้อนสี่เหลี่ยมหล่นกระจายทั่วเนิน และมีร่องรอยจากการลักลอบขุดค้นหลายจุด สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานอาคารโบราณสถานประเภทปราสาทขอม ก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันพบศิลาแลงกระจายอยู่ในพื้นที่มีขอบเขตโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร มีร่องรอยการลักลอบขุดเป็นหลุมลึกกระจายในพื้นที่ศิลาแลงกระจายอยู่ทั่วไป ไม่สามารถกำหนดอายุได้ชัดเจนเนื่องจากหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไม่เพียงพอ ในเบื้องต้นทราบว่าเป็นโบราณสถานปราสาทขอมในศิลปะขอม (กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 18)
5.จากการเดินสำรวจทางโบราณคดีบนผิวดินโดยรอบไม่พบโบราณวัตถุ เนื่องจากสภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงและใช้งานเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
6.ตรวจสอบแหล่งโบราณสถานการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบาพระเจ้า ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
1.ข้อมูลเบื้องต้นแหล่งโบราณสถานชื่อ “บาพระเจ้า” ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ พิกัด 16°15'13.11"น 102°22'40.58"ตะวันออก 48 Q 219735.00 ม. ตะวันออก 1798787.00 ม. เหนือ (48 QTD 197987 มาตราส่วน 1:50,000 WGS 84 อำเภอหนองเรือ พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD L7018 ระวาง 5441 I ) ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้เป็นพื้นที่ครอบครองของเอกชน คือ นางทองเหลือง นันทชน ราษฎรบ้านหนองพอก
2.สภาพที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพโดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศเหนือ บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศใต้ บ้านโนนตุ่น ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ทิศตะวันออก บ้านหนองดินดำ ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 480.00 เมตร มีลำห้วยไผ่ ไหลผ่าน ทิศตะวันตก บ้านโนนทัน ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 350 เป็นถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนอง พอก – หนองหญ้าปล้อง
3.การเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณสถาน จากที่ว่าการอำเภอแก้งคร้อ เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ประมาณ 650 เมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2389 ประมาณ 21.5 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตำบลหนองสังข์เลี้ยวขวา ประมาณ 1.5 กิโลเมตรถึงบ้านหนองพอกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนองพอก – หนองหญ้าปล้อง ประมาณ 1.7 กิโลเมตร แหล่งโบราณสถานอยู่ด้านซ้ายมือ ห่างจากถนนสายท้องถิ่นประมาณ 350 เมตร
4.สภาพแหล่งโบราณสถาน โบราณสถานปัจจุบันเป็นเนินดินขนาดเล็กอยู่ในสภาพพังทลายและถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกต้นไผ่ บนเนินปรากฏกลุ่มศิลาแลงก้อนสี่เหลี่ยมหล่นกระจายทั่วเนิน และมีร่องรอยจากการลักลอบขุดค้นหลายจุด สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานอาคารโบราณสถานประเภทปราสาทขอม ก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันพบศิลาแลงกระจายอยู่ในพื้นที่มีขอบเขตโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร มีร่องรอยการลักลอบขุดเป็นหลุมลึกกระจายในพื้นที่ศิลาแลงกระจายอยู่ทั่วไป ไม่สามารถกำหนดอายุได้ชัดเจนเนื่องจากหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไม่เพียงพอ ในเบื้องต้นทราบว่าเป็นโบราณสถานปราสาทขอมในศิลปะขอม (กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 18)
5.จากการเดินสำรวจทางโบราณคดีบนผิวดินโดยรอบไม่พบโบราณวัตถุ เนื่องจากสภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงและใช้งานเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
6.ตรวจสอบแหล่งโบราณสถานการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบาพระเจ้า ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
(จำนวนผู้เข้าชม 1053 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน