ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานที่ได้รับแจ้งข้อมูล แหล่งโบราณสถานวัดพระวังหาร (เก่า)
ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานที่ได้รับแจ้งข้อมูล แหล่งโบราณสถานวัดพระวังหาร (เก่า) นั้นตั้งอยู่ในแหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร ซึ่งกลุ่มโบราณดคีได้มีการการสำรวจและจัดทำเอกสารการสำรวจเบื้องต้นไว้แล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ โดยนายสมเดช ลีลามโนธรรม ซึ่งมีข้อมูลสำคัญสรุปได้ ดังนี้
แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร หมู่ ๔ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ แผนผังรูปกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐๐ เมตร มีความสูงจากที่นาโดยรอบประมาณ ๔ เมตร จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่
๑. เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดินหยาบ ผิวสีครีม (นวล) สีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายเชือกทาบ ลายขูดขีดเป็นเส้นตรง ลายเขียนสีดำ สันนิษฐานว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก
๒. เศษภาชนะดินเผาเครื่องถ้วยเขมร แบบเนื้อดินละเอียด ผิวสีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายขุดเป็นเส้นตรงขนานกัน ขูดขีดเป็นรูปสามเหลี่ยม เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเคลือบน้ำเคลือบสีเขียว เศษภาชนะดินเผาส่วนก้นไม่มีลวดลาย
๓. ก้อนศิลาแลง/แท่งศิลาแลง รูปทรงเป็นแท่งสี่เหลี่ยม จำนวน ๒ ก้อน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ภายในวัดพระวังหาร จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า พบอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้าน
๔. นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า เคยมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ร่วมกับภาชนะดินเผาในบริเวณหมู่บ้านด้วย
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่า แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร เป็นแหล่งประเภทที่อยู่อาศัยของมนุษย์หลายช่วงสมัย ดังนี้
๑. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก อายุราว ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้ชุมชนอาจมีประเพณีการฝังศพเช่นเดียวกับชุมชนร่วมสมัยอื่นๆ
๒. สมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมขอมหรือเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร หมู่ ๔ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ แผนผังรูปกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐๐ เมตร มีความสูงจากที่นาโดยรอบประมาณ ๔ เมตร จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่
๑. เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดินหยาบ ผิวสีครีม (นวล) สีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายเชือกทาบ ลายขูดขีดเป็นเส้นตรง ลายเขียนสีดำ สันนิษฐานว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก
๒. เศษภาชนะดินเผาเครื่องถ้วยเขมร แบบเนื้อดินละเอียด ผิวสีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายขุดเป็นเส้นตรงขนานกัน ขูดขีดเป็นรูปสามเหลี่ยม เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเคลือบน้ำเคลือบสีเขียว เศษภาชนะดินเผาส่วนก้นไม่มีลวดลาย
๓. ก้อนศิลาแลง/แท่งศิลาแลง รูปทรงเป็นแท่งสี่เหลี่ยม จำนวน ๒ ก้อน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ภายในวัดพระวังหาร จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า พบอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้าน
๔. นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า เคยมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ร่วมกับภาชนะดินเผาในบริเวณหมู่บ้านด้วย
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่า แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร เป็นแหล่งประเภทที่อยู่อาศัยของมนุษย์หลายช่วงสมัย ดังนี้
๑. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก อายุราว ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้ชุมชนอาจมีประเพณีการฝังศพเช่นเดียวกับชุมชนร่วมสมัยอื่นๆ
๒. สมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมขอมหรือเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
(จำนวนผู้เข้าชม 2038 ครั้ง)