ผลการตรวจสอบพระอุโบสถวัดโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผลการตรวจสอบพระอุโบสถวัดโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดดังนี้
๑. วัดโตนด ตั้งอยู่ที่ บ้านโตนด หมู่ที่ 11 ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (แผนที่ทหาร ประเทศไทย ๑ : ๕๐,๐๐๐ WGS๘๔ จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์ครั้งที่ ๑–RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๔๓8 IV, พิกัดยูทีเอ็มที่ โซน 48 P 199660.66 ม. ตะวันออก,1655453.25 ม. เหนือ)
๒. พระอุโบสถวัดโตนดหลังเดิมยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร
๓. สภาพปัจจุบันพระอุโบสถหลังเดิมวัดโตนดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ถูกใช้งานเป็นระยะเวลากว่า ๑ ปีแล้ว โดยจุดที่เสียหายแบ่งเป็น ๑๐ จุด มีรายละเอียดดังนี้
ด้านนอกพระอุโบสถ
๓.๑ โครงสร้างหลังคา โดยเครื่องไม้รองรับหลังคามีสภาพชำรุดทรุดโทรม กระเบื้องมุงหลังคาหลุดร่วงหลายจุด แต่โครงสร้างของอาคารยังมีความแข็งแรงดี
๓.๒ ฝ้าเพดานบริเวณชายหลังคาหลุดร่วง
๓.๓ หน้าบันพระอุโบสถทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งเป็นหน้าบันไม้แกะสลักรูปครุฑยุดนาคและกนกพรรณพฤกษา ปัจจุบันถูกรื้อและนำมาประดับผนังด้านสกัดทั้ง ๒ ด้าน และแทนที่ด้วยหน้าบันปูนปั้น
๓.๔ ผนังด้านสกัดทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออก จากเดิมเป็นมุขยื่นทั้ง ๒ ด้าน ปัจจุบันมีการรื้อออกทั้ง ๒ ด้าน แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้พบเห็น
ด้านในพระอุโบสถ
๓.๕ ฝ้าหลังคาภายในพระอุโบสถชำรุดเกือบทั้งหมดประกอบกับหลังคามุงกระเบื้องที่หลุดร่วงและโครงสร้างไม้รองรับหลังคาอยู่ในสภาพชำรุด ส่งผลให้สภาพภายในพระอุโบสถได้รับความเสียหายจากลม ฝนและพายุเป็นอย่างมาก
๓.๖ บริเวณพื้นภายในพระอุโบสถมีมูลนกพิราบทั้งพื้นที่ เนื่องจากนกพิราบเข้ามาทำรังภายในพระอุโบสถเป็นจำนวนมาก
๑. วัดโตนด ตั้งอยู่ที่ บ้านโตนด หมู่ที่ 11 ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (แผนที่ทหาร ประเทศไทย ๑ : ๕๐,๐๐๐ WGS๘๔ จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์ครั้งที่ ๑–RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๔๓8 IV, พิกัดยูทีเอ็มที่ โซน 48 P 199660.66 ม. ตะวันออก,1655453.25 ม. เหนือ)
๒. พระอุโบสถวัดโตนดหลังเดิมยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร
๓. สภาพปัจจุบันพระอุโบสถหลังเดิมวัดโตนดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ถูกใช้งานเป็นระยะเวลากว่า ๑ ปีแล้ว โดยจุดที่เสียหายแบ่งเป็น ๑๐ จุด มีรายละเอียดดังนี้
ด้านนอกพระอุโบสถ
๓.๑ โครงสร้างหลังคา โดยเครื่องไม้รองรับหลังคามีสภาพชำรุดทรุดโทรม กระเบื้องมุงหลังคาหลุดร่วงหลายจุด แต่โครงสร้างของอาคารยังมีความแข็งแรงดี
๓.๒ ฝ้าเพดานบริเวณชายหลังคาหลุดร่วง
๓.๓ หน้าบันพระอุโบสถทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งเป็นหน้าบันไม้แกะสลักรูปครุฑยุดนาคและกนกพรรณพฤกษา ปัจจุบันถูกรื้อและนำมาประดับผนังด้านสกัดทั้ง ๒ ด้าน และแทนที่ด้วยหน้าบันปูนปั้น
๓.๔ ผนังด้านสกัดทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออก จากเดิมเป็นมุขยื่นทั้ง ๒ ด้าน ปัจจุบันมีการรื้อออกทั้ง ๒ ด้าน แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้พบเห็น
ด้านในพระอุโบสถ
๓.๕ ฝ้าหลังคาภายในพระอุโบสถชำรุดเกือบทั้งหมดประกอบกับหลังคามุงกระเบื้องที่หลุดร่วงและโครงสร้างไม้รองรับหลังคาอยู่ในสภาพชำรุด ส่งผลให้สภาพภายในพระอุโบสถได้รับความเสียหายจากลม ฝนและพายุเป็นอย่างมาก
๓.๖ บริเวณพื้นภายในพระอุโบสถมีมูลนกพิราบทั้งพื้นที่ เนื่องจากนกพิราบเข้ามาทำรังภายในพระอุโบสถเป็นจำนวนมาก
(จำนวนผู้เข้าชม 2639 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน