พระอัฏฐารส
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พระอัฏฐารส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุ : สำริด, ไม้ ปิดทอง
ประวัติ : สร้างโดยพระนางติโลกจุฑาราชเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน ในปีพุทธศักราช 1955
สถานที่ : ประดิษฐานภายในวิหารหลวงวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเขียงใหม่
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางประทานอภัย ประทับยืน พระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลว พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง
--------------------------------------------------------
คำว่า อัฏฐารส ตามรากศัพท์ภาษาบาลี มาจากคำว่า อัฏฐ หมายถึง 8 และ ทศ หมายถึง 10 เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นจำนวน 18
.
ความหมายของชื่อ พระอัฏฐารส มีการตีความไว้เป็น 2 แนวคิด คือ แปลว่า พระสูง 18 ศอก และ พระผู้เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ 18 ประการ โดยแนวคิดแรกมาจากคัมภีร์อรรถกถาพุทธวงศ์ ที่กล่าวถึงความสูงของพระพุทธเจ้า ส่วนแนวคิดที่สองมาจากการตีความหมายลักษณะดังกล่าวที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมผ่านงานประติมากรรม
.
พระอัฏฐารสองค์นี้ สร้างติดกับผนังของวิหารให้เป็นพระประธานในวิหารหลวง โดยส่วนขององค์พระหล่อด้วยสำริด แต่ส่วนพระหัตถ์ที่ยื่นออกมาแสดงปางประทานอภัยทำจากไม้ มีพระสาวกยืนขนาบอยู่ทั้งสองข้าง คือ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร
.
จากลักษณะรูปแบบแสดงให้เห็นถึงงานศิลปกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัยช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ยุคทองของล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีการผสมผสานรูปแบบระหว่าง พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง กับ อิทธิพลสุโขทัย ซึ่งเห็นได้จากลักษณะ พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่ว่ามีการทำพระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง ซึ่งได้รับอิทธิพลสุโขทัย นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญ่ก็เป็นที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยด้วย
--------------------------------------------------------
อ้างอิง
- บุณยกร วชิระเธียรชัย. “อฏฺฐารส คติความเชื่อ และการสร้างสรรค์งานพุทธปฏิมา”. วารสารหน้าจั่ว : ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. ฉบับที่ 8 (กันยายน 2554 – สิงหาคม 2555). หน้า 56-64.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 216-217.
พระอัฏฐารส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุ : สำริด, ไม้ ปิดทอง
ประวัติ : สร้างโดยพระนางติโลกจุฑาราชเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน ในปีพุทธศักราช 1955
สถานที่ : ประดิษฐานภายในวิหารหลวงวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเขียงใหม่
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางประทานอภัย ประทับยืน พระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลว พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง
--------------------------------------------------------
คำว่า อัฏฐารส ตามรากศัพท์ภาษาบาลี มาจากคำว่า อัฏฐ หมายถึง 8 และ ทศ หมายถึง 10 เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นจำนวน 18
.
ความหมายของชื่อ พระอัฏฐารส มีการตีความไว้เป็น 2 แนวคิด คือ แปลว่า พระสูง 18 ศอก และ พระผู้เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ 18 ประการ โดยแนวคิดแรกมาจากคัมภีร์อรรถกถาพุทธวงศ์ ที่กล่าวถึงความสูงของพระพุทธเจ้า ส่วนแนวคิดที่สองมาจากการตีความหมายลักษณะดังกล่าวที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมผ่านงานประติมากรรม
.
พระอัฏฐารสองค์นี้ สร้างติดกับผนังของวิหารให้เป็นพระประธานในวิหารหลวง โดยส่วนขององค์พระหล่อด้วยสำริด แต่ส่วนพระหัตถ์ที่ยื่นออกมาแสดงปางประทานอภัยทำจากไม้ มีพระสาวกยืนขนาบอยู่ทั้งสองข้าง คือ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร
.
จากลักษณะรูปแบบแสดงให้เห็นถึงงานศิลปกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัยช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ยุคทองของล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีการผสมผสานรูปแบบระหว่าง พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง กับ อิทธิพลสุโขทัย ซึ่งเห็นได้จากลักษณะ พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่ว่ามีการทำพระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง ซึ่งได้รับอิทธิพลสุโขทัย นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญ่ก็เป็นที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยด้วย
--------------------------------------------------------
อ้างอิง
- บุณยกร วชิระเธียรชัย. “อฏฺฐารส คติความเชื่อ และการสร้างสรรค์งานพุทธปฏิมา”. วารสารหน้าจั่ว : ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. ฉบับที่ 8 (กันยายน 2554 – สิงหาคม 2555). หน้า 56-64.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 216-217.
(จำนวนผู้เข้าชม 1270 ครั้ง)