พระมหาเทวีจิรประภา
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พระมหาเทวีจิรประภา
(ครองราชย์ พ.ศ. 2088-2089)
.
พระมหาเทวีจิรประภาเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068-2081 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086-2088) เป็นพระมารดาของท้าวซายคำ (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ พ.ศ.2081-2086) และพระนางยอดคำทิพย์ (อัครมเหสีของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง)
ซึ่งเป็นพระมารดาของ พระไชยเชษฐาธิราช (พระอุปโย)
.
หลังจากพระเมืองเกษเกล้า พระสวามี ถูกขุนนางใหญ่ลอบปลงพระชนม์ แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์ เหล่าขุนนางได้อัญเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นปกครองล้านนาเป็นการชั่วคราว นับได้ว่าพระองค์เป็นกษัตรีย์ หรือ กษัตริย์ผู้หญิงพระองค์แรกแห่งราชวงค์มังราย
.
เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เหล่าขุนนางเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นครองราชย์ ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขัติยานีศรีล้านนาว่า เพราะพระองค์มีความพร้อมสูง เนื่องจากมีบทบาททางการเมืองในฐานะที่เคยเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า และเป็นพระมารดาของท้าวซายคำ ย่อมสั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองไว้มาก เป็นไปได้ว่า พระองค์อยู่เบื้องหลังทางการเมืองในนครเชียงใหม่มานานแล้ว
.
พระมหาเทวีจิรประภาปกครองล้านนาในช่วงที่บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดความแตกแยก พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยาก็ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก ด้วยสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นไม่พร้อมรับศึก เพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำ พระองค์จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาการไปถวายแทนการสู้รบ ซึ่งพระไชยราชาธิราชยอมรับการเป็นไมตรีนี้ พระองค์ยังได้เชิญพระไชยราชาธิราชทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระเมืองเกษเกล้า ณ วัดโลกโมฬี ด้วย
.
ภายหลังพระมหาเทวีจิรประภาสละราชบัลลังก์ให้แก่พระไชยเชษฐาธิราชซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดา (หลาน)ขึ้นปกครองล้านนา ต่อมาเมื่อพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ล้านช้าง สวรรคตกะทันหัน พระไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครองอาณาจักรล้านช้าง ในครั้งนั้นพระองค์ก็ได้ตามเสด็จไปด้วย
.
ปัจจุบันวัดโลกโมฬี ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยพระเมืองเกษเกล้าและเป็นที่บรรจุอัฐิ มีประติกรรมรูปพระมหาเทวีจิรประภาและพระเมืองเกษเกล้าตั้งอยู่ในศาลาทางซ้ายมือใกล้ประตูทางเข้าวัด มีความเชื่อว่าผู้ใดอยากสมหวังในเรื่อง “ความรัก” ต้องมากราบไว้ขอพรพระมหาเทวีจิรประภา โดยมีคำไหว้บูชาว่า “มหาเทวี จิรประภา วันทามิ สิระสา สะทาโสตฺถี ภะวันตุเมฯ ข้าพเจ้าขอไหว้พระนางจิรประภาเทวี ด้วยความเคารพนอบน้อมยิ่ง ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาล เวลาทุกเมื่อเทอญ” และมีหลักการอธิษฐานระบุไว้ว่า “ขอความรัก บนไข่ไก่ 9 ฟอง แก้บน 108 ฟอง ผลไม้ 9 อย่าง พร้อมปัจจัยตามศรัทธา”
.
จากบทบาทในการเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ล้านนา ปัจจุบันพระองค์ได้รับความนับถือในฐานะเทพแห่งความรักของล้านนาอีกด้วย
--------------------------------------------------------------
อ้างอิง
- สรัสวดี อ๋องสกุล. "บทบาททางการเมือง ประวัติ และที่มาของอำนาจมหาเทวีจิรประภา". ขัติยานีศรีล้านนา. เชียงใหม่ : มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, 2547. หน้า 31-49.
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. หน้า 173.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 16-17.
- มาลา คำจันทร์. พื้นบ้านตำนานเมืองล้านนา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2565. หน้า 165-170.
พระมหาเทวีจิรประภา
(ครองราชย์ พ.ศ. 2088-2089)
.
พระมหาเทวีจิรประภาเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068-2081 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086-2088) เป็นพระมารดาของท้าวซายคำ (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ พ.ศ.2081-2086) และพระนางยอดคำทิพย์ (อัครมเหสีของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง)
ซึ่งเป็นพระมารดาของ พระไชยเชษฐาธิราช (พระอุปโย)
.
หลังจากพระเมืองเกษเกล้า พระสวามี ถูกขุนนางใหญ่ลอบปลงพระชนม์ แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์ เหล่าขุนนางได้อัญเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นปกครองล้านนาเป็นการชั่วคราว นับได้ว่าพระองค์เป็นกษัตรีย์ หรือ กษัตริย์ผู้หญิงพระองค์แรกแห่งราชวงค์มังราย
.
เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เหล่าขุนนางเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นครองราชย์ ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขัติยานีศรีล้านนาว่า เพราะพระองค์มีความพร้อมสูง เนื่องจากมีบทบาททางการเมืองในฐานะที่เคยเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า และเป็นพระมารดาของท้าวซายคำ ย่อมสั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองไว้มาก เป็นไปได้ว่า พระองค์อยู่เบื้องหลังทางการเมืองในนครเชียงใหม่มานานแล้ว
.
พระมหาเทวีจิรประภาปกครองล้านนาในช่วงที่บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดความแตกแยก พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยาก็ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก ด้วยสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นไม่พร้อมรับศึก เพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำ พระองค์จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาการไปถวายแทนการสู้รบ ซึ่งพระไชยราชาธิราชยอมรับการเป็นไมตรีนี้ พระองค์ยังได้เชิญพระไชยราชาธิราชทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระเมืองเกษเกล้า ณ วัดโลกโมฬี ด้วย
.
ภายหลังพระมหาเทวีจิรประภาสละราชบัลลังก์ให้แก่พระไชยเชษฐาธิราชซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดา (หลาน)ขึ้นปกครองล้านนา ต่อมาเมื่อพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ล้านช้าง สวรรคตกะทันหัน พระไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครองอาณาจักรล้านช้าง ในครั้งนั้นพระองค์ก็ได้ตามเสด็จไปด้วย
.
ปัจจุบันวัดโลกโมฬี ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยพระเมืองเกษเกล้าและเป็นที่บรรจุอัฐิ มีประติกรรมรูปพระมหาเทวีจิรประภาและพระเมืองเกษเกล้าตั้งอยู่ในศาลาทางซ้ายมือใกล้ประตูทางเข้าวัด มีความเชื่อว่าผู้ใดอยากสมหวังในเรื่อง “ความรัก” ต้องมากราบไว้ขอพรพระมหาเทวีจิรประภา โดยมีคำไหว้บูชาว่า “มหาเทวี จิรประภา วันทามิ สิระสา สะทาโสตฺถี ภะวันตุเมฯ ข้าพเจ้าขอไหว้พระนางจิรประภาเทวี ด้วยความเคารพนอบน้อมยิ่ง ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาล เวลาทุกเมื่อเทอญ” และมีหลักการอธิษฐานระบุไว้ว่า “ขอความรัก บนไข่ไก่ 9 ฟอง แก้บน 108 ฟอง ผลไม้ 9 อย่าง พร้อมปัจจัยตามศรัทธา”
.
จากบทบาทในการเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ล้านนา ปัจจุบันพระองค์ได้รับความนับถือในฐานะเทพแห่งความรักของล้านนาอีกด้วย
--------------------------------------------------------------
อ้างอิง
- สรัสวดี อ๋องสกุล. "บทบาททางการเมือง ประวัติ และที่มาของอำนาจมหาเทวีจิรประภา". ขัติยานีศรีล้านนา. เชียงใหม่ : มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, 2547. หน้า 31-49.
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. หน้า 173.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 16-17.
- มาลา คำจันทร์. พื้นบ้านตำนานเมืองล้านนา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2565. หน้า 165-170.
(จำนวนผู้เข้าชม 6660 ครั้ง)