ตุงสามหาง
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ตุงสามหาง
ตุง หมายถึง ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา ตามความเชื่อของคนล้านนา ตุง ไม่ได้เป็นเพียงของใช้สำหรับการประดับตกแต่งหรือสื่อถึงสัญลักษณ์ความเป็นล้านนาเท่านั้น แต่ตุงยังมีความหมายและความสำคัญซ่อนอยู่ ใช้เป็นเครื่องประกอบสำคัญในงานประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อ หรือถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีทั้งรูปแบบที่ใช้สำหรับงานมงคล งานอวมงคล หรือใช้ได้ทั้งสองงาน
.
“ตุงสามหาง” มีอีกชื่อเรียกว่า ตุงฮูปคน หรือ ตุงผีต๋าย เป็นตุงแบบที่ใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยตุงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหัว 2. ส่วนตัว ทำเหมือนแขนคน และ 3. ส่วนหาง ทำเป็น 3 ชาย
รูปแบบที่พบในปัจจุบัน มีทั้งแบบที่ทำเป็นเค้าโครงรูปร่างคนอย่างชัดเจน แบบที่ทำเป็นรูปเทพนมหรือเทวดา หรือแบบที่ทำเป็นรูปเจดีย์และมีรูปโกศอยู่ภายใน โดยทุกแบบจะมีชาย 3 หางห้อยลงมา
วัสดุที่ใช้ทำจากผ้าหรือกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระดาษเงินหรือกระดาษทอง เป็นลวดลายต่าง ๆ สำหรับของพระภิกษุสงฆ์ ตัวตุงจะใช้ผ้าสีเหลือง หรือผ้าสบงผืนใหม่
.
ในอดีตช่างจะทำตุงสามหางต่อเมื่อมีคนตายแล้วเท่านั้น ไม่มีการทำเตรียมไว้ล่วงหน้า และจะทำรูปลักษณ์ของตุงตามลักษณะของผู้ตาย เช่น ผอม อ้วน สูง เตี้ย เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้คนที่มางานศพทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตาย แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำในลักษณะนี้แล้ว ใช้วิธีการเขียนแทน โดยเขียนระบุบอกชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดและเสียชีวิตไว้บนตุง
.
เมื่อถึงวันเผาศพหรือเสียศพ จะมีคนแบกคันตุงสามหางพร้อมสะพายถุงข้าวด่วน เดินนำหน้าขบวนแห่ศพไปสู่สุสานหรือป่าช้า และนำไปไว้ติดกับเมรุเผาศพพร้อมเผาไปพร้อมกับศพด้วย มีความเชื่อกันว่าคนถือตุงห้ามหันหลังมองกลับมาจนกว่าจะไปถึงป่าช้า เพราะหากหันกลับมาเชื่อว่าจะมีคนตายเพิ่มอีก ในอดีตจะมีการเลือกคนที่ถือตุงนำขบวนจะต้องเป็นคนที่มีความประพฤติดี มีศีลธรรม แต่ปัจจุบันจะเป็นใครก็ได้ที่รับอาสาทำหน้าที่นี้
.
ความหมายเกี่ยวกับตุงสามหางมีผู้ตีความไว้หลากหลายนัย อาทิเช่น เชื่อว่าหางตุงทั้ง 3 หางหมายถึง ที่พึ่งสูงสุดของมนุษย์คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง โลกทั้ง 3 ของมนุษย์คือ สวรรค์ มนุษยโลก และนรกภูมิ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นต้น
--------------------------------------------
อ้างอิง
- ยุพิน เข็มมุกด์. ช่อและตุง ศิลป์แห่งศรัทธา ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2553. หน้า 142, 191-199.
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542 หน้า 151.
- ดอกรัก พยัคศรี. ตุง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566 จาก https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php...
ภาพประกอบ
- ตุงสามหาง จาก ร้านส.สว่าง ตุงสามหาง จังหวัดเชียงใหม่ (ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลและอนุญาตให้ถ่ายภาพ)
- ตุงสามหางรูปคน จาก งานศพในจังหวัดลำปาง (ถ่ายโดยคุณอริยธัช มูลน้อย)
ตุงสามหาง
ตุง หมายถึง ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา ตามความเชื่อของคนล้านนา ตุง ไม่ได้เป็นเพียงของใช้สำหรับการประดับตกแต่งหรือสื่อถึงสัญลักษณ์ความเป็นล้านนาเท่านั้น แต่ตุงยังมีความหมายและความสำคัญซ่อนอยู่ ใช้เป็นเครื่องประกอบสำคัญในงานประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อ หรือถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีทั้งรูปแบบที่ใช้สำหรับงานมงคล งานอวมงคล หรือใช้ได้ทั้งสองงาน
.
“ตุงสามหาง” มีอีกชื่อเรียกว่า ตุงฮูปคน หรือ ตุงผีต๋าย เป็นตุงแบบที่ใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยตุงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหัว 2. ส่วนตัว ทำเหมือนแขนคน และ 3. ส่วนหาง ทำเป็น 3 ชาย
รูปแบบที่พบในปัจจุบัน มีทั้งแบบที่ทำเป็นเค้าโครงรูปร่างคนอย่างชัดเจน แบบที่ทำเป็นรูปเทพนมหรือเทวดา หรือแบบที่ทำเป็นรูปเจดีย์และมีรูปโกศอยู่ภายใน โดยทุกแบบจะมีชาย 3 หางห้อยลงมา
วัสดุที่ใช้ทำจากผ้าหรือกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระดาษเงินหรือกระดาษทอง เป็นลวดลายต่าง ๆ สำหรับของพระภิกษุสงฆ์ ตัวตุงจะใช้ผ้าสีเหลือง หรือผ้าสบงผืนใหม่
.
ในอดีตช่างจะทำตุงสามหางต่อเมื่อมีคนตายแล้วเท่านั้น ไม่มีการทำเตรียมไว้ล่วงหน้า และจะทำรูปลักษณ์ของตุงตามลักษณะของผู้ตาย เช่น ผอม อ้วน สูง เตี้ย เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้คนที่มางานศพทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตาย แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำในลักษณะนี้แล้ว ใช้วิธีการเขียนแทน โดยเขียนระบุบอกชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดและเสียชีวิตไว้บนตุง
.
เมื่อถึงวันเผาศพหรือเสียศพ จะมีคนแบกคันตุงสามหางพร้อมสะพายถุงข้าวด่วน เดินนำหน้าขบวนแห่ศพไปสู่สุสานหรือป่าช้า และนำไปไว้ติดกับเมรุเผาศพพร้อมเผาไปพร้อมกับศพด้วย มีความเชื่อกันว่าคนถือตุงห้ามหันหลังมองกลับมาจนกว่าจะไปถึงป่าช้า เพราะหากหันกลับมาเชื่อว่าจะมีคนตายเพิ่มอีก ในอดีตจะมีการเลือกคนที่ถือตุงนำขบวนจะต้องเป็นคนที่มีความประพฤติดี มีศีลธรรม แต่ปัจจุบันจะเป็นใครก็ได้ที่รับอาสาทำหน้าที่นี้
.
ความหมายเกี่ยวกับตุงสามหางมีผู้ตีความไว้หลากหลายนัย อาทิเช่น เชื่อว่าหางตุงทั้ง 3 หางหมายถึง ที่พึ่งสูงสุดของมนุษย์คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง โลกทั้ง 3 ของมนุษย์คือ สวรรค์ มนุษยโลก และนรกภูมิ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นต้น
--------------------------------------------
อ้างอิง
- ยุพิน เข็มมุกด์. ช่อและตุง ศิลป์แห่งศรัทธา ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2553. หน้า 142, 191-199.
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542 หน้า 151.
- ดอกรัก พยัคศรี. ตุง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566 จาก https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php...
ภาพประกอบ
- ตุงสามหาง จาก ร้านส.สว่าง ตุงสามหาง จังหวัดเชียงใหม่ (ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลและอนุญาตให้ถ่ายภาพ)
- ตุงสามหางรูปคน จาก งานศพในจังหวัดลำปาง (ถ่ายโดยคุณอริยธัช มูลน้อย)
(จำนวนผู้เข้าชม 3384 ครั้ง)