พระสาวก รูปแบบ ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 17-18
พระสาวก
รูปแบบ ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 17-18
วัสดุ ดินเผา
ประวัติ นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
ลักษณะ พระสาวกประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พนมมือระดับพระอุระ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรกลมและพองโต ตรงกลางมีเจาะรูพระเนตร พระโอษฐ์แบะกว้าง เหนือพระโอษฐ์ทำเป็นร่องคล้ายพระมัสสุ มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นทรงกรวยแหลม ทรงครองจีวรเรียบห่มคลุม ชายผ้าที่หน้าตักทำเป็นแผ่นรูปครึ่งวงกลม
-------------------------------------------------
พระสาวกองค์นี้เป็นประติมากรรมดินเผาในศิลปะหริภุญไชยที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยส่วนใหญ่มักพบแบบชำรุดหรือมีขนาดเล็ก มีลักษณะรูปแบบที่ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปปางสมาธิดินเผา ที่พบใกล้กับเจดีย์เปตเลก (Hpet-Leik) หมู่บ้านติรัปยิตสยา (Thiripyisaya) เมืองพุกาม
.
เป็นงานที่มีทั้งอิทธิพลศิลปะพุกามและมีลักษณะเฉพาะของศิลปะหริภุญไชยเอง
.
โดยอิทธิพลจากพุกามเห็นได้จากการทำขัดสมาธิเพชรที่ไขว้กันจนเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้างในระดับเดียวกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสายวิวัฒนาการที่ทำสืบต่อจากศิลปะปาละของอินเดีย และการทำชายผ้าที่หน้าตักเป็นแผ่นรูปครึ่งวงกลม
.
ส่วนลักษณะที่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะหริภุญชัยเอง ตัวอย่างเช่น การทำพระขนงต่อกันเป็นปีกกา และยกเป็นสันขึ้นมา พระเนตรกลมพองโตเป็นลักษณะเด่นซึ่งมักพบอยู่ในกลุ่มพระสาวก เทวดา และรูปบุคคล ร่องเหนือพระโอษฐ์คล้ายพระมัสสุ ขอบพระพักตร์เป็นสันขึ้นมาคล้ายไรพระศก เป็นต้น
.
นอกจากนี้ด้านหลังประติมากรรมมีลักษณะเรียบตรง มีขมวดพระเกศาเพียงครึ่งเดียวไม่เต็มพระเศียร แสดงให้เห็นว่า พระสาวกนี้เป็นประติมากรรมนูนสูงเพื่อใช้ประดับผนังก็เป็นได้
-------------------------------------------------
อ้างอิง
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 42-50.
รูปภาพ
ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ
- Gordon H. Luce and Bo-Hmu Ba Shin. Old Burma: Early Pagán. Artibus Asiae. Supplementum, Vol. 25, Old Burma: Early Pagán. Volume Three: Plates (1970), plate 410 b.
รูปแบบ ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 17-18
วัสดุ ดินเผา
ประวัติ นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
ลักษณะ พระสาวกประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พนมมือระดับพระอุระ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรกลมและพองโต ตรงกลางมีเจาะรูพระเนตร พระโอษฐ์แบะกว้าง เหนือพระโอษฐ์ทำเป็นร่องคล้ายพระมัสสุ มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นทรงกรวยแหลม ทรงครองจีวรเรียบห่มคลุม ชายผ้าที่หน้าตักทำเป็นแผ่นรูปครึ่งวงกลม
-------------------------------------------------
พระสาวกองค์นี้เป็นประติมากรรมดินเผาในศิลปะหริภุญไชยที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยส่วนใหญ่มักพบแบบชำรุดหรือมีขนาดเล็ก มีลักษณะรูปแบบที่ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปปางสมาธิดินเผา ที่พบใกล้กับเจดีย์เปตเลก (Hpet-Leik) หมู่บ้านติรัปยิตสยา (Thiripyisaya) เมืองพุกาม
.
เป็นงานที่มีทั้งอิทธิพลศิลปะพุกามและมีลักษณะเฉพาะของศิลปะหริภุญไชยเอง
.
โดยอิทธิพลจากพุกามเห็นได้จากการทำขัดสมาธิเพชรที่ไขว้กันจนเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้างในระดับเดียวกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสายวิวัฒนาการที่ทำสืบต่อจากศิลปะปาละของอินเดีย และการทำชายผ้าที่หน้าตักเป็นแผ่นรูปครึ่งวงกลม
.
ส่วนลักษณะที่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะหริภุญชัยเอง ตัวอย่างเช่น การทำพระขนงต่อกันเป็นปีกกา และยกเป็นสันขึ้นมา พระเนตรกลมพองโตเป็นลักษณะเด่นซึ่งมักพบอยู่ในกลุ่มพระสาวก เทวดา และรูปบุคคล ร่องเหนือพระโอษฐ์คล้ายพระมัสสุ ขอบพระพักตร์เป็นสันขึ้นมาคล้ายไรพระศก เป็นต้น
.
นอกจากนี้ด้านหลังประติมากรรมมีลักษณะเรียบตรง มีขมวดพระเกศาเพียงครึ่งเดียวไม่เต็มพระเศียร แสดงให้เห็นว่า พระสาวกนี้เป็นประติมากรรมนูนสูงเพื่อใช้ประดับผนังก็เป็นได้
-------------------------------------------------
อ้างอิง
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 42-50.
รูปภาพ
ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ
- Gordon H. Luce and Bo-Hmu Ba Shin. Old Burma: Early Pagán. Artibus Asiae. Supplementum, Vol. 25, Old Burma: Early Pagán. Volume Three: Plates (1970), plate 410 b.
(จำนวนผู้เข้าชม 482 ครั้ง)