ตุงและคันตุง ๙๐/๒๕๔๑
ตุงและคันตุง
เลขทะเบียน ๙๐ / ๒๕๔๑
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่
วัสดุ (ชนิด) ชินชุบทอง
ขนาด สูงพร้อมฐาน ๓๖ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ตุงและคันตุงนี้มีรูปแบบทางศิลปกรรมใกล้เคียงกับเครื่องราชูปโภคจำลอง ทะเบียน ๓๙๔/ ๒๕๑๖ น่าจะถูกสร้างขึ้นเป็นชุดเดียวกัน เห็นได้จากที่แขวนตุงทำเป็นรูปนาคเกี้ยวเช่นเดียวกับพนักบัลลังก์ คันตุงตั้งอยู่บนแท่นแก้ว (บัลลังก์) ที่มีการฉลุลวดลายโปร่ง และประดับด้วยกระจังสามเหลี่ยมที่มุมทั้งสี่ของบัลลังก์ด้านบน คันตุงถูกขนาบข้างด้วยเสากลมสี่เสาสั้น ๆ ส่วนยอดเสาแหลม ยอดสุดของคันตุงแยกออกเป็นสองแฉก มีลายนาคเกี้ยวด้านบนสุดแขวนตุงสองอัน ตุงทำส่วนปลายแหลมทั้งหัวและท้าย ตุงอันหนึ่งสลักลายขูดขีด เป็นลายบัวคอเสื้อที่คอตุง ส่วนตัวตุงเป็นลายเมฆแบบศิลปะจีน ทิ้งช่องไฟห่าง ๆ กัน
(จำนวนผู้เข้าชม 303 ครั้ง)