พระเจ้าแข้งคม
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา (อิทธิพลศิลปะอยุธยา) พุทธศตวรรษที่ 21
วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทอง
ประวัติ : ตามชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงมอบให้สีหโคดเสนาบดีและอาณกิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ โดยหล่อขึ้นที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ส่วนในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงหล่อพระพุทธรูปทองสำริดและขนานพระนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ ตาลวันมหาวิหาร อยู่ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ของเมือง
ต่อมาในสมัยเจ้ากาวิละได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดศรีเกิด ในเมืองเชียงใหม่
สถานที่ : ปัจจุบันประดิษฐานภายในวิหารวัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง พระโอษฐ์แบะกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระชงฆ์เป็นสัน
----------------------------------------------------------
คำว่า พระเจ้าแข้งคม เรียกชื่อตามลักษณะของพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ที่ทำเป็นสันเส้นตรงขึ้นมา ในจารึกวัดศรีเกิดมีปรากฏกล่าวเรียกพระแข้งคมนี้อยู่เช่นกัน ความว่า “...ทั้งศิษย์โยมเจ้าชู่ตน มาเล็งหัน ยังพระพุทธโบราณพิมพ์รูปเจ้าตนชื่อแข้งคมตั้ง อยู่วัดป่าตาลน้อยนอกแอ่งกระเรืองเถ้า รอน้อยนรหนานเถ้าเช่น พระติโลกราชเจ้าหนักทอง ๓๓๐๐๐๐๐ จึ่งชักเชิญเอาศรัทธาหน...”
.
พระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดนี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาในกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 (ในสมัยอยุธยาตอนต้น) ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน เห็นได้จากการทำพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ และการทำพระชงฆ์เป็นสัน หรือแข้งคม ต่างจากแบบแผนศิลปะล้านนา โดยเป็นการรับแบบอย่างมาจากพระละโว้ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าติโลกมหาราช สะท้อนให้เห็นถึงพระราชนิยมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
.
นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะที่เป็นข้อสังเกตในพระพุทธรูปกลุ่มนี้คือ พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จะกางแยกห่างจากนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เล็กน้อย
.
พระพุทธรูปแบบแข้งคมพบในศิลปะล้านนาจำนวนไม่มากนัก คาดว่านิยมสร้างเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่พบที่เชียงใหม่และลำพูน ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปแข้งคมที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มีลักษณะเหมือนกับพระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดทุกประการแต่มีขนาดเล็กกว่า พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานบนฐานชุกชี ในวิหารวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
---------------------------------
อ้างอิง
- พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล. ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501. หน้า 119.
- ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์, 2516. หน้า 352.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 263-266.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า 555-556, 640.
- จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). “จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435
พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา (อิทธิพลศิลปะอยุธยา) พุทธศตวรรษที่ 21
วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทอง
ประวัติ : ตามชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงมอบให้สีหโคดเสนาบดีและอาณกิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ โดยหล่อขึ้นที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ส่วนในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงหล่อพระพุทธรูปทองสำริดและขนานพระนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ ตาลวันมหาวิหาร อยู่ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ของเมือง
ต่อมาในสมัยเจ้ากาวิละได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดศรีเกิด ในเมืองเชียงใหม่
สถานที่ : ปัจจุบันประดิษฐานภายในวิหารวัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง พระโอษฐ์แบะกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระชงฆ์เป็นสัน
----------------------------------------------------------
คำว่า พระเจ้าแข้งคม เรียกชื่อตามลักษณะของพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ที่ทำเป็นสันเส้นตรงขึ้นมา ในจารึกวัดศรีเกิดมีปรากฏกล่าวเรียกพระแข้งคมนี้อยู่เช่นกัน ความว่า “...ทั้งศิษย์โยมเจ้าชู่ตน มาเล็งหัน ยังพระพุทธโบราณพิมพ์รูปเจ้าตนชื่อแข้งคมตั้ง อยู่วัดป่าตาลน้อยนอกแอ่งกระเรืองเถ้า รอน้อยนรหนานเถ้าเช่น พระติโลกราชเจ้าหนักทอง ๓๓๐๐๐๐๐ จึ่งชักเชิญเอาศรัทธาหน...”
.
พระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดนี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาในกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 (ในสมัยอยุธยาตอนต้น) ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน เห็นได้จากการทำพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ และการทำพระชงฆ์เป็นสัน หรือแข้งคม ต่างจากแบบแผนศิลปะล้านนา โดยเป็นการรับแบบอย่างมาจากพระละโว้ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าติโลกมหาราช สะท้อนให้เห็นถึงพระราชนิยมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
.
นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะที่เป็นข้อสังเกตในพระพุทธรูปกลุ่มนี้คือ พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จะกางแยกห่างจากนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เล็กน้อย
.
พระพุทธรูปแบบแข้งคมพบในศิลปะล้านนาจำนวนไม่มากนัก คาดว่านิยมสร้างเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่พบที่เชียงใหม่และลำพูน ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปแข้งคมที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มีลักษณะเหมือนกับพระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดทุกประการแต่มีขนาดเล็กกว่า พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานบนฐานชุกชี ในวิหารวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
---------------------------------
อ้างอิง
- พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล. ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501. หน้า 119.
- ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์, 2516. หน้า 352.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 263-266.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า 555-556, 640.
- จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). “จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435
(จำนวนผู้เข้าชม 1035 ครั้ง)