พระบฏ
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พระบฏ
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 -21
วัสดุ : ผ้า
ประวัติ : พบที่กรุเจดีย์วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อคราวที่สำรวจแหล่งโบราณคดีที่จะถูกน้ำท่วมก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อปี พ.ศ. 2502-2503 โดยเริ่มขุดที่วัดเจดีย์สูงเป็นวัดแรก
ลักษณะ : เป็นภาพจิตรกรรมรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก เขียนลงบนผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ส่วนบนและล่างมีที่ไว้สำหรับใช้แขวน
---------------------------------------------------------
พระบฏ คือ ภาพที่เขียนลงบนผ้าเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า ใช้แขวนเพื่อเคารพบูชา
มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คำว่า ปฏ (ปะ-ตะ) หมายถึง ผืนผ้า
.
ถึงแม้ว่าสภาพของพระบฏผืนนี้ บางส่วนของภาพค่อนข้างชำรุด จึงมีไม่เต็มภาพ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นองค์ประกอบหลักของภาพได้อยู่
.
องค์ประกอบภาพ
ตรงกลางเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานบัว แสดงปางเปิดโลก เหนือพระเศียรเขียนภาพฉัตร โดยมีพระอัครสาวกคือ พระโมคคัลลานะ (เบื้องซ้าย) และพระสารีบุตร (เบื้องขวา) ยืนพนมมือขนาบอยู่ทั้งสองข้าง ฉากหลังเป็นพื้นสีแดง ปรากฏภาพดอกไม้สวรรค์ หรือ ดอกไม้ร่วงนานาพันธุ์ เช่น ดอกบัว ดอกโบตั๋น ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกปีบ เป็นต้น ส่วนด้านบนทางซ้ายและขวา เป็นภาพพระจันทร์ มีกระต่ายอยู่ด้านใน และก้อนเมฆล้อมรอบ อีกฝั่งที่ชำรุดเสียหายสันนิษฐานว่าคือภาพพระอาทิตย์
.
จากองค์ประกอบภาพและการโคจรของพระอาทิตย์และพระจันทร์จะอยู่ระดับเหนือยอดเขายุคันธร อันเป็นหนึ่งในเขาสัตบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเขาพระสุเมรุ ยอดเขาพระสุเมรุคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงหมายถึงเรื่องราวใน พุทธประวัติ ตอนหลังจากเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จลงมาถึงโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสะแล้ว
.
รูปแบบ
จากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่บริเวณพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าปรากฏพระเนตรที่เรียวยาวเหลือบมองต่ำ และร่องรอยลายเส้นคาดว่าน่าจะมีชายสังฆาฏิยาว แสดงให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
ส่วนพื้นหลังที่มีดอกไม้ร่วงนานาชนิด ลักษณะลวดลายของดอกไม้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะจีน ซึ่งได้รับความนิยมในงานศิลปกรรมของล้านนาช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 สันนิษฐานว่าช่างล้านนาได้นำลายดอกไม้จีนมาจากเครื่องถ้วยจีน เนื่องจากได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงภายในกรุเดียวกันกับพระบฏ นอกจากนี้ยังมีลายก้อนเมฆและลายหยักคลื่นก็ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนเช่นเดียวกัน
.
การเขียนภาพใช้เทคนิคสีฝุ่นบนผ้าใบ การใช้สีเป็นประเภทพหุรงค์ โดยใช้หลายสีคือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว สีขาว และสีดำ
.
จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพลนี้ ยังได้พบพระบฏอีกผืนที่มีขนาดใกล้เคียงกันด้วย โดยพบบรรจุอยู่ในหม้อดินที่กรุเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพตอนกำลังเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรุงเทพฯ
.
ขณะนี้ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการปรับปรุงห้องจัดแสดงใหม่ โดยได้นำผ้าพระบฏที่พบจากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่นี้ กลับมาจัดแสดงอีกครั้ง
ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าชมความงามและร่องรอยงานจิตรกรรมสมัยอาณาจักรล้านนาที่เหลือหลักฐานอยู่ไม่มากได้ที่ชั้น 2 ห้องพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 -16:00 น.
หยุดทุกวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
-----------------------------------------------------
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ , 2550 หน้า 372.
- สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555. หน้า 159-161.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 323-325.
- Chiang Mai House of Photography by Associate Professor Kanta Poonpipat Foundation. ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก : https://cmhop.org/product/พระบฏกรุวัดเจดีย์สูง/
- อาทิตยา สืบมาแต่ปั้น. เปรียบเทียบพระบฏแสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สมัยล้านนาและรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
พระบฏ
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 -21
วัสดุ : ผ้า
ประวัติ : พบที่กรุเจดีย์วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อคราวที่สำรวจแหล่งโบราณคดีที่จะถูกน้ำท่วมก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อปี พ.ศ. 2502-2503 โดยเริ่มขุดที่วัดเจดีย์สูงเป็นวัดแรก
ลักษณะ : เป็นภาพจิตรกรรมรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก เขียนลงบนผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ส่วนบนและล่างมีที่ไว้สำหรับใช้แขวน
---------------------------------------------------------
พระบฏ คือ ภาพที่เขียนลงบนผ้าเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า ใช้แขวนเพื่อเคารพบูชา
มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คำว่า ปฏ (ปะ-ตะ) หมายถึง ผืนผ้า
.
ถึงแม้ว่าสภาพของพระบฏผืนนี้ บางส่วนของภาพค่อนข้างชำรุด จึงมีไม่เต็มภาพ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นองค์ประกอบหลักของภาพได้อยู่
.
องค์ประกอบภาพ
ตรงกลางเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานบัว แสดงปางเปิดโลก เหนือพระเศียรเขียนภาพฉัตร โดยมีพระอัครสาวกคือ พระโมคคัลลานะ (เบื้องซ้าย) และพระสารีบุตร (เบื้องขวา) ยืนพนมมือขนาบอยู่ทั้งสองข้าง ฉากหลังเป็นพื้นสีแดง ปรากฏภาพดอกไม้สวรรค์ หรือ ดอกไม้ร่วงนานาพันธุ์ เช่น ดอกบัว ดอกโบตั๋น ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกปีบ เป็นต้น ส่วนด้านบนทางซ้ายและขวา เป็นภาพพระจันทร์ มีกระต่ายอยู่ด้านใน และก้อนเมฆล้อมรอบ อีกฝั่งที่ชำรุดเสียหายสันนิษฐานว่าคือภาพพระอาทิตย์
.
จากองค์ประกอบภาพและการโคจรของพระอาทิตย์และพระจันทร์จะอยู่ระดับเหนือยอดเขายุคันธร อันเป็นหนึ่งในเขาสัตบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเขาพระสุเมรุ ยอดเขาพระสุเมรุคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงหมายถึงเรื่องราวใน พุทธประวัติ ตอนหลังจากเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จลงมาถึงโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสะแล้ว
.
รูปแบบ
จากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่บริเวณพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าปรากฏพระเนตรที่เรียวยาวเหลือบมองต่ำ และร่องรอยลายเส้นคาดว่าน่าจะมีชายสังฆาฏิยาว แสดงให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
ส่วนพื้นหลังที่มีดอกไม้ร่วงนานาชนิด ลักษณะลวดลายของดอกไม้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะจีน ซึ่งได้รับความนิยมในงานศิลปกรรมของล้านนาช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 สันนิษฐานว่าช่างล้านนาได้นำลายดอกไม้จีนมาจากเครื่องถ้วยจีน เนื่องจากได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงภายในกรุเดียวกันกับพระบฏ นอกจากนี้ยังมีลายก้อนเมฆและลายหยักคลื่นก็ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนเช่นเดียวกัน
.
การเขียนภาพใช้เทคนิคสีฝุ่นบนผ้าใบ การใช้สีเป็นประเภทพหุรงค์ โดยใช้หลายสีคือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว สีขาว และสีดำ
.
จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพลนี้ ยังได้พบพระบฏอีกผืนที่มีขนาดใกล้เคียงกันด้วย โดยพบบรรจุอยู่ในหม้อดินที่กรุเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพตอนกำลังเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรุงเทพฯ
.
ขณะนี้ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการปรับปรุงห้องจัดแสดงใหม่ โดยได้นำผ้าพระบฏที่พบจากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่นี้ กลับมาจัดแสดงอีกครั้ง
ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าชมความงามและร่องรอยงานจิตรกรรมสมัยอาณาจักรล้านนาที่เหลือหลักฐานอยู่ไม่มากได้ที่ชั้น 2 ห้องพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 -16:00 น.
หยุดทุกวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
-----------------------------------------------------
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ , 2550 หน้า 372.
- สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555. หน้า 159-161.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 323-325.
- Chiang Mai House of Photography by Associate Professor Kanta Poonpipat Foundation. ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก : https://cmhop.org/product/พระบฏกรุวัดเจดีย์สูง/
- อาทิตยา สืบมาแต่ปั้น. เปรียบเทียบพระบฏแสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สมัยล้านนาและรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
(จำนวนผู้เข้าชม 1269 ครั้ง)