พระพุทธรูปปางมารวิชัย
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21
วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทอง
ประวัติ : พบที่วัดศรีโขง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อคราวที่สำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อปีพ.ศ. 2502-2503
ลักษณะ : พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย มีพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระเนตรหรี่เหลือบต่ำฝังมุกและพลอย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นรูปลายสี่กลีบ ฐานเป็นแบบบัวคว่ำ- บัวหงาย มีลายเกสรบัว มีประดับเม็ดไข่ปลา รองรับด้วยฐานหกเหลี่ยม เจาะช่องกระจก และมีขาสามขา
----------------------------------------------------
พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะที่เหมือนกันกับพระพุทธรูปปางวิชัย ที่วัดพันเตา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจารึกระบุปีที่สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2040 โดยจัดเป็นพระพุทธรูปกลุ่มขัดสมาธิราบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในยุคสมัยของพระเมืองแก้ว กำหนดอายุได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในยุคนี้ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและนิยมการสร้างพระพุทธรูปเป็นอย่างมาก
.
จากลักษณะรูปแบบจะเห็นได้ว่ามีลักษณะสำคัญหลายประการที่เป็นข้อสังเกตของพระพุทธรูปในสมัยพระเมืองแก้ว ตัวอย่างเช่น
.
ส่วนของพระเนตรที่ทำหรี่เหลือบมองต่ำ ต่างจากพระพุทธรูปแบบเดียวกันในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่นิยมทำพระเนตรเปิดกว้างและมองตรงมากกว่า
.
ส่วนของฐานที่ทำเป็นบัวคว่ำ-บัวหงาย มีลายเกสรบัวด้านใน ที่ฐานเหลี่ยมด้านล่างมีการเจาะช่องคล้ายลายก้อนเมฆ เรียกว่า “ช่องกระจก” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน สันนิษฐานว่าช่างล้านนานำลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนมาดัดแปลงเป็นลายประดับฐานและอาจจะช่วยความสะดวกในเรื่องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปก็เป็นได้
.
ส่วนการทำขาสามขารองรับ โดยส่วนนี้มาจากสายท่อชนวนสำหรับหล่อพระพุทธรูปและเหลือไว้ไม่ตัดทิ้ง (โดยปกติเมื่อเสร็จแล้วจะตัดทิ้ง) จึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้
.
ส่วนของชายสังฆาฏิทำเป็นแผ่นค่อนข้างใหญ่ มักพบในศิลปะอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยามาผสมด้วย ส่วนปลายมีลักษณะพิเศษ โดยตัดตรงและตกแต่งลวดลายบนส่วนปลาย เป็นลักษณะของพระพุทธรูปกลุ่มหนึ่งที่นิยมในสมัยนี้ อีกกลุ่มหนึ่งยังคงทำเป็นแบบปลายแยก 2 ชายม้วนเข้าหากันคล้ายเขี้ยวตะขาบ
.
นอกจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลักษณะสำคัญอื่น ๆ ที่มักปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในสมัยนี้ คือ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเท่ากันและเรียวยาว ส่วนใหญ่นิยมจารึกบอกศักราชปีที่สร้าง ตัวอย่างสำคัญคือ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
----------------------------------------------------
อ้างอิง
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 243-244.
ที่มารูปภาพ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพันเตา
- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ. (2547, 14 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนที่ 55ง. หน้า 69.
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21
วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทอง
ประวัติ : พบที่วัดศรีโขง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อคราวที่สำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อปีพ.ศ. 2502-2503
ลักษณะ : พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย มีพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระเนตรหรี่เหลือบต่ำฝังมุกและพลอย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นรูปลายสี่กลีบ ฐานเป็นแบบบัวคว่ำ- บัวหงาย มีลายเกสรบัว มีประดับเม็ดไข่ปลา รองรับด้วยฐานหกเหลี่ยม เจาะช่องกระจก และมีขาสามขา
----------------------------------------------------
พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะที่เหมือนกันกับพระพุทธรูปปางวิชัย ที่วัดพันเตา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจารึกระบุปีที่สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2040 โดยจัดเป็นพระพุทธรูปกลุ่มขัดสมาธิราบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในยุคสมัยของพระเมืองแก้ว กำหนดอายุได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในยุคนี้ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและนิยมการสร้างพระพุทธรูปเป็นอย่างมาก
.
จากลักษณะรูปแบบจะเห็นได้ว่ามีลักษณะสำคัญหลายประการที่เป็นข้อสังเกตของพระพุทธรูปในสมัยพระเมืองแก้ว ตัวอย่างเช่น
.
ส่วนของพระเนตรที่ทำหรี่เหลือบมองต่ำ ต่างจากพระพุทธรูปแบบเดียวกันในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่นิยมทำพระเนตรเปิดกว้างและมองตรงมากกว่า
.
ส่วนของฐานที่ทำเป็นบัวคว่ำ-บัวหงาย มีลายเกสรบัวด้านใน ที่ฐานเหลี่ยมด้านล่างมีการเจาะช่องคล้ายลายก้อนเมฆ เรียกว่า “ช่องกระจก” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน สันนิษฐานว่าช่างล้านนานำลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนมาดัดแปลงเป็นลายประดับฐานและอาจจะช่วยความสะดวกในเรื่องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปก็เป็นได้
.
ส่วนการทำขาสามขารองรับ โดยส่วนนี้มาจากสายท่อชนวนสำหรับหล่อพระพุทธรูปและเหลือไว้ไม่ตัดทิ้ง (โดยปกติเมื่อเสร็จแล้วจะตัดทิ้ง) จึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้
.
ส่วนของชายสังฆาฏิทำเป็นแผ่นค่อนข้างใหญ่ มักพบในศิลปะอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยามาผสมด้วย ส่วนปลายมีลักษณะพิเศษ โดยตัดตรงและตกแต่งลวดลายบนส่วนปลาย เป็นลักษณะของพระพุทธรูปกลุ่มหนึ่งที่นิยมในสมัยนี้ อีกกลุ่มหนึ่งยังคงทำเป็นแบบปลายแยก 2 ชายม้วนเข้าหากันคล้ายเขี้ยวตะขาบ
.
นอกจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลักษณะสำคัญอื่น ๆ ที่มักปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในสมัยนี้ คือ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเท่ากันและเรียวยาว ส่วนใหญ่นิยมจารึกบอกศักราชปีที่สร้าง ตัวอย่างสำคัญคือ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
----------------------------------------------------
อ้างอิง
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 243-244.
ที่มารูปภาพ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพันเตา
- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ. (2547, 14 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนที่ 55ง. หน้า 69.
(จำนวนผู้เข้าชม 890 ครั้ง)