ความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่และราชสำนักสยาม
อาคารชั้นล่าง จำนวน 8 ห้อง จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานทางศิลปกรรมที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองด้านพุทธศิลป์ของล้านนา ประกอบด้วยพัฒนาการของพระพุทธรูป 4 ระยะ ได้แก่ การได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชย ศิลปะอินเดียแบบปาละ และศิลปะพม่าแบบพุกามในพุทธศตวรรษที่ 19 การได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ 20 ลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 21 และหลังจากปลายพุทธศตวรรษที่ 21 โบราณวัตถุที่สำคัญโดดเด่น เช่น เศียรพระพุทธรูปสำริด ขนาดสูง 182 เซนติเมตร ที่เรียกว่า “พระแสนแซว่” เครื่องพุทธบูชาจำลองที่พบในเขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะสร้างเขื่อนภูมิพล พระพิมพ์ เครื่องพุทธบูชา และเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้แกะสลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเครื่องถ้วยที่พบจากแหล่งเตา แหล่งโบราณคดีและจากโบราณสถาน ทั้งเครื่องถ้วยล้านนา เครื่องถ้วยสุโขทัย และเครื่องถ้วยต่างประเทศอย่างจีน เวียดนาม สะท้อนถึงการติดต่อระหว่างล้านนากับบ้านเมืองอื่น ๆ จิตรกรรมล้านนาโดยเฉพาะภายในวิหารตามวัดต่าง ๆ และยังคงจัดแสดงศิลปะในประเทศไทยเพื่อให้ผู้สนใจโดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ได้ใช้ศึกษาเปรียบเทียบกับศิลปะล้านนา
ส่วนจัดแสดงชั้นล่าง จำนวน 8 ห้อง ประกอบด้วย
(จำนวนผู้เข้าชม 1306 ครั้ง)