วัดผาลาด
วัดผาลาด
วัดผาลาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผาลาด มาจากคำว่า ผะเลิด เพราะคนและช้างต่างลื่นล้มเมื่อเดินมาตามเส้นทางขึ้นเขา และเมื่อตั้งวัดจึงตั้งชื่อว่าผาลาด
วัดผาลาดปรากฏหลักฐานในเอกสาร ตำนาน และพงศาวดาร มีประวัติศาสตร์ร่วมกับพระธาตุดอยสุเทพ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารโยนก ความว่า “พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง ซึ่งเสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมณนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เพื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิตเหนือพระคชสาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุสุจบรรพต (ดอยสุเทพ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่งก็ขึ้นไปถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น”
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์เป็นศิลปะพม่าสมัยครูบาศรีวิชัย วิหารสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยโดยช่างชาวพม่า ฐานโบราณสถาน (โบสถ์) (วิหารพระเจ้ากือนา) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปเป็นศิลปะพม่า วัดยังมีบ่อน้ำที่มีการสร้างทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย และศาลาเก่า
ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นสู่วัดผาลาดตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติจากบริเวณด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๗ ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงวัดผาลาด และสามารถเดินลัดป่าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางไปกลับประมาณ ๑๐ กิโลเมตร นับว่าเป็นเส้นทางโบราณครั้งที่พระเจ้ากือนา อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นไปประดิษฐาน ณ ดอยสุเทพ ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ และโบราณสถานสำคัญตลอดเส้นทาง
เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. (เอกสารจดหมายเหตุชุด ภ หจช ชม ชม สศก ๗.๑.๔๑)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ๒๕๐๔. พงศาวดารโยนกฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์
บัณฑิตชาวนครเชียงใหม่. ๒๕๓๓. ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ. เชียงใหม่ : โสภณพิพรรฒธนากร
วัดผาลาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผาลาด มาจากคำว่า ผะเลิด เพราะคนและช้างต่างลื่นล้มเมื่อเดินมาตามเส้นทางขึ้นเขา และเมื่อตั้งวัดจึงตั้งชื่อว่าผาลาด
วัดผาลาดปรากฏหลักฐานในเอกสาร ตำนาน และพงศาวดาร มีประวัติศาสตร์ร่วมกับพระธาตุดอยสุเทพ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารโยนก ความว่า “พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง ซึ่งเสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมณนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เพื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิตเหนือพระคชสาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุสุจบรรพต (ดอยสุเทพ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่งก็ขึ้นไปถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น”
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์เป็นศิลปะพม่าสมัยครูบาศรีวิชัย วิหารสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยโดยช่างชาวพม่า ฐานโบราณสถาน (โบสถ์) (วิหารพระเจ้ากือนา) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปเป็นศิลปะพม่า วัดยังมีบ่อน้ำที่มีการสร้างทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย และศาลาเก่า
ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นสู่วัดผาลาดตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติจากบริเวณด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๗ ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงวัดผาลาด และสามารถเดินลัดป่าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางไปกลับประมาณ ๑๐ กิโลเมตร นับว่าเป็นเส้นทางโบราณครั้งที่พระเจ้ากือนา อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นไปประดิษฐาน ณ ดอยสุเทพ ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ และโบราณสถานสำคัญตลอดเส้นทาง
เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. (เอกสารจดหมายเหตุชุด ภ หจช ชม ชม สศก ๗.๑.๔๑)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ๒๕๐๔. พงศาวดารโยนกฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์
บัณฑิตชาวนครเชียงใหม่. ๒๕๓๓. ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ. เชียงใหม่ : โสภณพิพรรฒธนากร
(จำนวนผู้เข้าชม 821 ครั้ง)