วัดพระนอน แม่ฮ่องสอน
วัดพระนอน แม่ฮ่องสอน
วัดพระนอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน บริเวณเชิงเขาทางขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู ที่ชื่อว่าวัดพระนอนเพราะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระนอนองค์ใหญ่ที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ โดยพญาสิงหนาทราชา (ชานกะเล) เจ้าเมืององค์แรกของแม่ฮ่องสอน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙
พระนอนองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร มีศิลปะรูปแบบไทใหญ่ ความยาว ๑๑.๙๙ เมตร และบริเวณเชิงเขามีรูปปั้นสิงห์คู่ ประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะไทยใหญ่ ตัวสิงห์ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ ๓ เมตร อยู่ในท่านั่งหันหน้าไปทางตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ถัดมาเป็นสถูปบรรจุอัฐิของเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนสององค์ ตามด้วยแนวบันไดนาคที่ทอดตัวยาวขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยกองมู
วัดพระนอนนับว่าเป็นวัดสำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ อาทิ การบูรณะสิงห์คู่ องค์พระนอน องค์เจดีย์ วิหารไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปเก่าแก่ข้าวของเครื่องใช้ที่ทางวัดได้จัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์โบราณ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมและร่วมทำนุบำรุงให้คงอยู่สืบไป
เรียบเรียง นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
กรมการศาสนา. ๒๕๓๓. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรไทย เล่ม ๙. โรงพิมพ์กรมศาสนา : กรุงเทพมหานคร
จุตพร ภูมิพิงค์. ๒๕๕๗. การศึกษาเพื่อจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นโดยกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนในเขตเมืองแม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โยธิน บุญเฉลย. ๒๕๕๐. โครงการนำร่องการพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการสร้างเมืองมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).
วัดพระนอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน บริเวณเชิงเขาทางขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู ที่ชื่อว่าวัดพระนอนเพราะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระนอนองค์ใหญ่ที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ โดยพญาสิงหนาทราชา (ชานกะเล) เจ้าเมืององค์แรกของแม่ฮ่องสอน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙
พระนอนองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร มีศิลปะรูปแบบไทใหญ่ ความยาว ๑๑.๙๙ เมตร และบริเวณเชิงเขามีรูปปั้นสิงห์คู่ ประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะไทยใหญ่ ตัวสิงห์ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ ๓ เมตร อยู่ในท่านั่งหันหน้าไปทางตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ถัดมาเป็นสถูปบรรจุอัฐิของเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนสององค์ ตามด้วยแนวบันไดนาคที่ทอดตัวยาวขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยกองมู
วัดพระนอนนับว่าเป็นวัดสำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ อาทิ การบูรณะสิงห์คู่ องค์พระนอน องค์เจดีย์ วิหารไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปเก่าแก่ข้าวของเครื่องใช้ที่ทางวัดได้จัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์โบราณ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมและร่วมทำนุบำรุงให้คงอยู่สืบไป
เรียบเรียง นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
กรมการศาสนา. ๒๕๓๓. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรไทย เล่ม ๙. โรงพิมพ์กรมศาสนา : กรุงเทพมหานคร
จุตพร ภูมิพิงค์. ๒๕๕๗. การศึกษาเพื่อจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นโดยกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนในเขตเมืองแม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โยธิน บุญเฉลย. ๒๕๕๐. โครงการนำร่องการพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการสร้างเมืองมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).
(จำนวนผู้เข้าชม 1011 ครั้ง)