เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่
เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่
แนวคิดการตั้งเมืองเชียงใหม่ในอดีตเปรียบดั่งร่างกาย หัวเวียงอยู่ทางทิศเหนือ หัวเป็นอวัยวะสำคัญ ดังนั้นภายในเวียงเชียงใหม่ นับตั้งแต่กลางเวียงค่อนไปทางเหนือ จึงถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ สิ่งมงคล เช่น หอคำที่เวียงแก้ว คุ้มเจ้านาย วัดเชียงมั่น วัดเจดีย์หลวง และเสาอินทขิลเพราะถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตีนเวียงจะเป็นแนวยาว ตั้งแต่แจ่งหัวลินถึงแจ่งกู่เฮือง และจากแจ่งกู่เฮืองเลียบมาถึงแจ่งก๊ะต๊ำและแจ่งศรีภูมิ ดังนั้นวัดและอาคารบ้านเรือนที่อยู่ตีนเวียงมักจะมีขนาดเล็ก
ดังปรากฏความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ถึงการการตั้งเมืองเชียงใหม่ให้ฟื้นคืนมา โดยได้ปฏิสังขรณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีมาแต่โบราณ เช่น ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัวที่หัวเวียง ก่อรูปสิงห์ ๒ ตัวที่ข่วงสิงห์ ก่อรูปกุมภัณฑ์ และพระสุเทวฤาษีที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับการย้ายเสาอินทขิลจากวัดสะดือเมืองไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ความว่า “เถิงเดือน ๗ ออก ๑๑ ค่ำ วัน ๗ (มีนาคม ๒๓๔๔) ได้ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัว ไว้ทางหัวเวียง ตัวเบ่นหน้าไปหนเหนือชื่อ ปราบจักรวาฬ ตัวเบ่นหน้าไปวันตกชื่อปราบ เมืองมารเมืองยักษ์ แล้วก่อรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม และก่อรูปพระสุเทวรสีในที่ใกล้วันตกแห่งหออินทขีล ในสกราชเดียวนั้นแล ลูนนั้นได้ ๒ ปี เถิงปีลวงเล้า”
นับแต่การสร้าง เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่ ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชาวเชียงใหม่จึงได้ร่วมจัด ประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีลขึ้น ในช่วงปลายเดือน ๘ ต้นเดือน ๙ หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเข้าสู่งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล เริ่มต้นในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าอินทขิล ไปจนถึงวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงมักเรียกว่า เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก ประกอบด้วย การบูชาอินทขิล การบูชาต้นยางหลวง ในวัดเจดีย์หลวง การบูชาช้าง ๘ ตัว ที่พระเจดีย์หลวง พิธีใส่ขันดอก การใส่บาตรพระประจำวันเกิด พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนแสนห่า และพิธีสืบชะตาเมือง นับว่าเป็นงานประเพณีที่สร้างความเป็นมงคลให้แก่บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง สร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้งเคารพบูชาเทวดาฟ้าดินช่วยดลบันดาลให้ฝนตกสร้างความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตรอีกด้วย
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง
1. คณะกรรมการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. ๒๕๓๙. จดหมายเหตุการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ ส.ทรัพย์การพิมพ์.
2. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
3. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ๒๕๔๓. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พรินติ้ง เฮ้าส์.
แนวคิดการตั้งเมืองเชียงใหม่ในอดีตเปรียบดั่งร่างกาย หัวเวียงอยู่ทางทิศเหนือ หัวเป็นอวัยวะสำคัญ ดังนั้นภายในเวียงเชียงใหม่ นับตั้งแต่กลางเวียงค่อนไปทางเหนือ จึงถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ สิ่งมงคล เช่น หอคำที่เวียงแก้ว คุ้มเจ้านาย วัดเชียงมั่น วัดเจดีย์หลวง และเสาอินทขิลเพราะถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตีนเวียงจะเป็นแนวยาว ตั้งแต่แจ่งหัวลินถึงแจ่งกู่เฮือง และจากแจ่งกู่เฮืองเลียบมาถึงแจ่งก๊ะต๊ำและแจ่งศรีภูมิ ดังนั้นวัดและอาคารบ้านเรือนที่อยู่ตีนเวียงมักจะมีขนาดเล็ก
ดังปรากฏความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ถึงการการตั้งเมืองเชียงใหม่ให้ฟื้นคืนมา โดยได้ปฏิสังขรณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีมาแต่โบราณ เช่น ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัวที่หัวเวียง ก่อรูปสิงห์ ๒ ตัวที่ข่วงสิงห์ ก่อรูปกุมภัณฑ์ และพระสุเทวฤาษีที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับการย้ายเสาอินทขิลจากวัดสะดือเมืองไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ความว่า “เถิงเดือน ๗ ออก ๑๑ ค่ำ วัน ๗ (มีนาคม ๒๓๔๔) ได้ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัว ไว้ทางหัวเวียง ตัวเบ่นหน้าไปหนเหนือชื่อ ปราบจักรวาฬ ตัวเบ่นหน้าไปวันตกชื่อปราบ เมืองมารเมืองยักษ์ แล้วก่อรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม และก่อรูปพระสุเทวรสีในที่ใกล้วันตกแห่งหออินทขีล ในสกราชเดียวนั้นแล ลูนนั้นได้ ๒ ปี เถิงปีลวงเล้า”
นับแต่การสร้าง เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่ ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชาวเชียงใหม่จึงได้ร่วมจัด ประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีลขึ้น ในช่วงปลายเดือน ๘ ต้นเดือน ๙ หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเข้าสู่งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล เริ่มต้นในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าอินทขิล ไปจนถึงวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงมักเรียกว่า เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก ประกอบด้วย การบูชาอินทขิล การบูชาต้นยางหลวง ในวัดเจดีย์หลวง การบูชาช้าง ๘ ตัว ที่พระเจดีย์หลวง พิธีใส่ขันดอก การใส่บาตรพระประจำวันเกิด พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนแสนห่า และพิธีสืบชะตาเมือง นับว่าเป็นงานประเพณีที่สร้างความเป็นมงคลให้แก่บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง สร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้งเคารพบูชาเทวดาฟ้าดินช่วยดลบันดาลให้ฝนตกสร้างความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตรอีกด้วย
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง
1. คณะกรรมการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. ๒๕๓๙. จดหมายเหตุการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ ส.ทรัพย์การพิมพ์.
2. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
3. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ๒๕๔๓. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พรินติ้ง เฮ้าส์.
(จำนวนผู้เข้าชม 375 ครั้ง)