ประเพณีสงกรานต์ปีใหม่เมืองล้านนา
เรื่อง ประเพณีสงกรานต์ปีใหม่เมืองล้านนา
ประเพณีสงกรานต์ หรือที่เรารู้จักกันดีคือวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันที่มีความหมายถึงการขึ้นศักราชใหม่ หรือปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติ โดยคำว่า สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายไป ในที่นี้คือ การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ ถือเป็นการเคลื่อนที่สำคัญ จึงเรียกว่า มหาสงกรานต์ ในไทยถิ่นเหนือเรียกวัน สังขานต์ล่อง ซึ่งก็มีความหมายเหมือนคำว่าสงกรานต์
ช่วงเวลาประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา พบว่าตรงกับเดือน ๗ ของทางเหนือ โดยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ ซึ่งใช้ระบบการขึ้นปีใหม่แบบปฏิทินสุริยคติ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศให้วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ ๑ เมษายน จนถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีไทยตามหลักสากลคือวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ส่วนเทศกาลสงกรานต์หรือการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ทางราชการได้กำหนดปฏิทินตรงกับวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี
กิจกรรมที่ชาวไทยล้านนาปฏิบัติกันในวันสงกรานต์ เริ่มจากวันแรก ชาวบ้านจะตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ มีการยิงปืนไล่สิ่งอวมงคล และทุกคนจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระร่างกายสระผมให้สะอาด นำผ้าห่ม หมอน มุ้งออกไปซัก ทำจิตใจให้ผ่องใส เมื่อเสร็จแล้วผู้คนจะนิยมไปเที่ยวแอ่วปีใหม่ตามที่ต่าง ๆ
วันที่สองคือวันขนทราย หรือเรียกว่า วันเน่า หรือวันเนาว์ ตามภาษาเขมรหมายถึง อยู่ ในวันดังกล่าวผู้คนจะไม่ด่าทอหรือทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล และออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปจ่ายตลาดเตรียมทำอาหารไว้ทำบุญถวายพระในวันรุ่งขึ้น ส่วนช่วงบ่ายเป็นการขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย ตกแต่งด้วยธงริ้วสีต่าง ๆ ธงนี้ชาวล้านนาเรียกว่า "ตุง" ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปต่าง ๆ ติดปลายไม้สำหรับปักบริเวณที่ก่อเจดีย์ทราย นอกจากนี้ยังนิยมเล่นน้ำกันวันนี้อีกด้วย
วันที่สาม วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน คือวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปีศักราชช่วงเช้าทำบุญ "ทานขันข้าว" ที่วัดให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเมื่อเสร็จจากการทำบุญที่วัดจะเตรียมสำรับอาหารไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่เคารพเพื่อขอพรคือการ "ทานขันข้าวคนเถ้า" ส่วนช่วงบ่ายนั้นจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน วันพญาวันถือเป็นวันที่ดีที่สุดของปีจึงมักประกอบพิธีมงคลกันในวันนี้ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ประเพณีสงกรานต์แบบชาวล้านนายังมีต่อถึงวันที่สี่คือ วันปากปี โดยวันนี้ยังคงเป็นวันที่มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีความเชื่อเรื่องการรับประทานแกงขนุน จะทำให้มีผู้ค้ำหนุนชีวิตให้เจริญ ส่วนวันที่ห้าคือวันปากเดือน มีการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เช่น สะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ และบูชาเทียน เป็นต้น
เรียบเรียงโดย นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.
แหล่งอ้างอิง :
๑. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. “ความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ในสังคมวัฒนธรรมล้านนา.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, ๑๐๕ - ๑๑๕.
๒. นิรันดร ชัยนาม. ๒๕๑๒. "ประเพณีตรุษสงกรานต์และดำหัว." ใน ประเพณีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่และลานนาไทยกับการถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชอาคันตุกะ.พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, ๑๑ - ๑๖.
ประเพณีสงกรานต์ หรือที่เรารู้จักกันดีคือวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันที่มีความหมายถึงการขึ้นศักราชใหม่ หรือปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติ โดยคำว่า สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายไป ในที่นี้คือ การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ ถือเป็นการเคลื่อนที่สำคัญ จึงเรียกว่า มหาสงกรานต์ ในไทยถิ่นเหนือเรียกวัน สังขานต์ล่อง ซึ่งก็มีความหมายเหมือนคำว่าสงกรานต์
ช่วงเวลาประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา พบว่าตรงกับเดือน ๗ ของทางเหนือ โดยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ ซึ่งใช้ระบบการขึ้นปีใหม่แบบปฏิทินสุริยคติ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศให้วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ ๑ เมษายน จนถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีไทยตามหลักสากลคือวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ส่วนเทศกาลสงกรานต์หรือการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ทางราชการได้กำหนดปฏิทินตรงกับวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี
กิจกรรมที่ชาวไทยล้านนาปฏิบัติกันในวันสงกรานต์ เริ่มจากวันแรก ชาวบ้านจะตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ มีการยิงปืนไล่สิ่งอวมงคล และทุกคนจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระร่างกายสระผมให้สะอาด นำผ้าห่ม หมอน มุ้งออกไปซัก ทำจิตใจให้ผ่องใส เมื่อเสร็จแล้วผู้คนจะนิยมไปเที่ยวแอ่วปีใหม่ตามที่ต่าง ๆ
วันที่สองคือวันขนทราย หรือเรียกว่า วันเน่า หรือวันเนาว์ ตามภาษาเขมรหมายถึง อยู่ ในวันดังกล่าวผู้คนจะไม่ด่าทอหรือทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล และออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปจ่ายตลาดเตรียมทำอาหารไว้ทำบุญถวายพระในวันรุ่งขึ้น ส่วนช่วงบ่ายเป็นการขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย ตกแต่งด้วยธงริ้วสีต่าง ๆ ธงนี้ชาวล้านนาเรียกว่า "ตุง" ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปต่าง ๆ ติดปลายไม้สำหรับปักบริเวณที่ก่อเจดีย์ทราย นอกจากนี้ยังนิยมเล่นน้ำกันวันนี้อีกด้วย
วันที่สาม วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน คือวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปีศักราชช่วงเช้าทำบุญ "ทานขันข้าว" ที่วัดให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเมื่อเสร็จจากการทำบุญที่วัดจะเตรียมสำรับอาหารไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่เคารพเพื่อขอพรคือการ "ทานขันข้าวคนเถ้า" ส่วนช่วงบ่ายนั้นจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน วันพญาวันถือเป็นวันที่ดีที่สุดของปีจึงมักประกอบพิธีมงคลกันในวันนี้ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ประเพณีสงกรานต์แบบชาวล้านนายังมีต่อถึงวันที่สี่คือ วันปากปี โดยวันนี้ยังคงเป็นวันที่มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีความเชื่อเรื่องการรับประทานแกงขนุน จะทำให้มีผู้ค้ำหนุนชีวิตให้เจริญ ส่วนวันที่ห้าคือวันปากเดือน มีการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เช่น สะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ และบูชาเทียน เป็นต้น
เรียบเรียงโดย นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.
แหล่งอ้างอิง :
๑. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. “ความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ในสังคมวัฒนธรรมล้านนา.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, ๑๐๕ - ๑๑๕.
๒. นิรันดร ชัยนาม. ๒๕๑๒. "ประเพณีตรุษสงกรานต์และดำหัว." ใน ประเพณีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่และลานนาไทยกับการถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชอาคันตุกะ.พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, ๑๑ - ๑๖.
(จำนวนผู้เข้าชม 7918 ครั้ง)