...

องก์ที่ ๘ ทรงรักษาคุณค่ามรดกชาติ
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๘ ทรงรักษาคุณค่ามรดกชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการสนับสนุน ส่งเสริม ฟื้นฟู และอนุรักษ์งานศิลปะของไทยที่มาจากการสั่งสมภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย จากพระราชดำริที่ริเริ่มเพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรทุกท้องถิ่นมีอาชีพเสริมเลี้ยงตนเอง ขยายออกไปสู่การอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมด้านต่าง ๆ
     พระองค์ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเห็นความหมายของวัฒนธรรมของผ้าทอ จึงมีพระราชประสงค์สืบทอดศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองของไทยให้ยั่งยืน พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงของพระองค์ทำให้งานศิลปหัตถกรรมผ้าไทยมีคุณค่าและความประณีตงดงาม ก่อเกิดเป็นงานศิลป์อันทรงคุณค่าและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
“...คนไทยเรานั้นแม้อยู่ห่างไกลความเจริญของเมืองหลวง ก็มีความสามารถทางด้านศิลปะเป็นอย่างสูง เช่น ผ้าไหมไทย ผ้าไทยต่าง ๆ ที่เห็นมีสีและลวดลายที่สวยงามนั้น เกิดมาจากความสามารถของชาวบ้านเองแท้ ๆ ไม่ต้องให้ใครไปออกแบบลวดลายและสีสันให้ คนไทยเหล่านี้เองที่ข้าพเจ้าขอยกย่องว่า เป็นผู้สืบทอดศิลปะให้แก่ชาติบ้านเมืองของเขาจริง แม้แต่ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้ทางหัตถกรรมใด ๆ เลย ก็ต้องนับว่ามีสายเลือดทางศิลปะอยู่ในตัวแล้ว เพราะเพียงได้มาเรียนไม่นานก็สามารถผลิตผลงานที่สวยงามได้อย่างน่าอัศจรรย์...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑)
“...ชาวกะเหรี่ยงนี่ เขามีความสามารถ มีศิลปะของเขา ปรากฎว่าได้ผลดี เขาทอเสื้อผ้าของเขาและต่อไปเวลาทางศิลปาชีพออกแบบลายผ้าต่าง ๆ สำหรับให้หมู่บ้านนี้ ทำให้ทอเป็นลายต่าง ๆ อย่างนี้ เขาก็เชื่อฟัง เขาก็ทอ ตอนนี้ผิดไปเลย ไม่ถึงปีนี่ก็หน้าตาสดใส และเด็ก ๆ ก็ได้ไปโรงเรียน...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันพุธ ที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒)
“...การทอผ้าเป็นศิลปะงดงามที่เขามีความสามารถชำนาญในสายเลือด เราเพียงเข้าไปช่วยนิดหน่อยเท่านั้นก็จะได้ทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีขึ้น ทางทหารก็ได้เคยช่วยเหลือกับข้าพเจ้ามาตลอด ทั้งนี้เพราะว่าคนไทยทั้งหลายที่ได้รับการศึกษาสูงก็คงจะทราบว่า เราต้องป้องกันไม่ให้ราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารต้องทิ้งบ้านเข้ามาทำงานตามเมืองใหญ่ ๆ ทำให้เมืองใหญ่ ๆ กลายเป็นชุมชนแออัด อาหารจำกัด อาหารแพง...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๙)
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑.  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.  ๒๕๖๐.  ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน.  กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.  
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.  
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

(จำนวนผู้เข้าชม 331 ครั้ง)


Messenger