องก์ที่ ๑ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๑ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ขณะดำรงพระยศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระนาม “สิริกิติ์” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทาน มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร” ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ณ บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว
พระองค์ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยความมุมานะ ตรากตรำพระวรกายเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ด้วยมีพระราชประสงค์รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และพระราชทานพระราชดำริให้จัดทำโครงการพัฒนาที่หลากหลาย ให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์และยั่งยืน ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
“...ข้าพเจ้าไปภาคเหนือคราวที่แล้ว ก็ไปจัดตั้งโครงการหมู่บ้านบ้านเล็กในป่าใหญ่ เพราะได้ไปเห็นว่าชาวไทยภูเขาตามพื้นที่ชายแดนต่าง ๆ โดยมากมักจะไม่มีที่ทำกินหรือว่าไม่มีบ้านพักก็เตร็ดเตร่ไปเรื่อย ๆ ...แล้วก็รับชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่จะมาอยู่ในบ้านนั้น แล้วเราก็จะสอนทุกอย่าง วิธีดำเนินชีวิตของเขา ให้เขาเป็นสมาชิกศิลปาชีพ แล้วในที่สุดก็ให้เขาเป็นผู้ดูแลป่าไม้ด้วย ให้เป็นหูเป็นตา และการตั้งหมู่บ้านนี้บางครั้งก็โชคดี หมู่บ้านชาวเขานั่นน่ะกลายเป็นหูเป็นตาในการขัดขวางเส้นทางของการค้ายาเสพติดด้วย คือเขาก็เป็นหูเป็นตาให้...”
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
องก์ที่ ๑ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ขณะดำรงพระยศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระนาม “สิริกิติ์” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทาน มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร” ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ณ บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว
พระองค์ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยความมุมานะ ตรากตรำพระวรกายเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ด้วยมีพระราชประสงค์รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และพระราชทานพระราชดำริให้จัดทำโครงการพัฒนาที่หลากหลาย ให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์และยั่งยืน ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
“...ข้าพเจ้าไปภาคเหนือคราวที่แล้ว ก็ไปจัดตั้งโครงการหมู่บ้านบ้านเล็กในป่าใหญ่ เพราะได้ไปเห็นว่าชาวไทยภูเขาตามพื้นที่ชายแดนต่าง ๆ โดยมากมักจะไม่มีที่ทำกินหรือว่าไม่มีบ้านพักก็เตร็ดเตร่ไปเรื่อย ๆ ...แล้วก็รับชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่จะมาอยู่ในบ้านนั้น แล้วเราก็จะสอนทุกอย่าง วิธีดำเนินชีวิตของเขา ให้เขาเป็นสมาชิกศิลปาชีพ แล้วในที่สุดก็ให้เขาเป็นผู้ดูแลป่าไม้ด้วย ให้เป็นหูเป็นตา และการตั้งหมู่บ้านนี้บางครั้งก็โชคดี หมู่บ้านชาวเขานั่นน่ะกลายเป็นหูเป็นตาในการขัดขวางเส้นทางของการค้ายาเสพติดด้วย คือเขาก็เป็นหูเป็นตาให้...”
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 380 ครั้ง)