อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย
อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย
อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ไหน ?
ย้อนกลับในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ รัฐบาลสยามและอังกฤษ ได้มีการตกลงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ ๒ โดยรัฐบาลสยามยิมยอมให้รัฐบาลอังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลอังกฤษขึ้นที่เชียงใหม่ได้ จากนั้นคนในบังคับของอังกฤษทั้งชาวจีน อินเดีย พม่า ไทใหญ่ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพค้าขาย ทำไม้ และเป็นพ่อค้าวัวต่างม้าต่าง
ที่ต้องตั้งคำถามเพราะเกิดความสงสัยจากภาพถ่าย ซึ่งถ่ายโดยนายเอ็ม. ทานาคา ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เจ้าของร้านถ่ายรูป ทานาคา เป็นภาพเจ้าหน้าที่สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยคนงานนำช้าง ม้า สัตว์เลี้ยงออกมายืนถ่ายรูปที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก่อนที่จะนำสัตว์เหล่านี้เดินออกไปตามท้องถนนสายต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปประมูล โดยนำเงินที่ได้นั้นส่งไปช่วยรัฐบาลอังกฤษทำสงครามกับประเทศเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศทำสงครามกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง
อีกทั้งปรากฏหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงการเปิดอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ความว่า “สตริงเกอร์ได้มาเชิญพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ ไปเปิดอนุสาวรีย์กวีนวิกตอเรีย ซึ่งพวกฝรั่งแลคนในบังคับได้ช่วยออกเงินส่งมาแต่ยุโรป และว่ารูปนั้นหล่อด้วยปรอนส์ สูง ๕ ฟุต ถานทำด้วยศิลาอ่อนสูง ๗ ฟุต ราคาในราว ๖๐๐๐ รูเปีย อนุสาวรีย์นี้ได้ตั้งอยู่ในบ้านกงสุล” ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมอนันตรา ถนนเจริญประเทศ
หลังจากย้ายที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่ไปยังถนนบำรุงราษฎร์ อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย จึงย้ายไปไว้ ณ สุสานชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณฐานอนุสาวรีย์มีข้อความว่า “อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงความรักและความเคารพอย่างยิ่งยวดที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย และข้าราชบริพารที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นคร-ลำปาง แพร่ น่าน สวรรคโลก และระแหง ทั่วดินแดนตอนเหนือของสยาม” ปัจจุบันอนุสาวรีย์ยังคงได้รับการดูแล และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยสามารถเข้าชมได้ทางสโมสรยิมนาคา หรือประตูริมถนนเชียงใหม่ – ลำพูน ตรงข้ามสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.
#อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย
#เอกสารจดหมายเหตุ
#หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่
#สำนักศิลปากรที่๗
#สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่
อ้างอิง
๑.บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือกการพิมพ์.
๒.บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๓.มานิจ ชุมสาย, ม.ล. ๒๕๒๔. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : พิทยาคาร.
๔.สมโชติ อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ชุมชน โดยศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซตน์ จำกัด.
๕.สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
๖.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร๕ กร ๕ ม. ๖๓/๑ เรื่องเปิดอนุสาวรีย์ที่เชียงใหม่.
อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ไหน ?
ย้อนกลับในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ รัฐบาลสยามและอังกฤษ ได้มีการตกลงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ ๒ โดยรัฐบาลสยามยิมยอมให้รัฐบาลอังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลอังกฤษขึ้นที่เชียงใหม่ได้ จากนั้นคนในบังคับของอังกฤษทั้งชาวจีน อินเดีย พม่า ไทใหญ่ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพค้าขาย ทำไม้ และเป็นพ่อค้าวัวต่างม้าต่าง
ที่ต้องตั้งคำถามเพราะเกิดความสงสัยจากภาพถ่าย ซึ่งถ่ายโดยนายเอ็ม. ทานาคา ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เจ้าของร้านถ่ายรูป ทานาคา เป็นภาพเจ้าหน้าที่สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยคนงานนำช้าง ม้า สัตว์เลี้ยงออกมายืนถ่ายรูปที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก่อนที่จะนำสัตว์เหล่านี้เดินออกไปตามท้องถนนสายต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปประมูล โดยนำเงินที่ได้นั้นส่งไปช่วยรัฐบาลอังกฤษทำสงครามกับประเทศเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศทำสงครามกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง
อีกทั้งปรากฏหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงการเปิดอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย ความว่า “สตริงเกอร์ได้มาเชิญพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ ไปเปิดอนุสาวรีย์กวีนวิกตอเรีย ซึ่งพวกฝรั่งแลคนในบังคับได้ช่วยออกเงินส่งมาแต่ยุโรป และว่ารูปนั้นหล่อด้วยปรอนส์ สูง ๕ ฟุต ถานทำด้วยศิลาอ่อนสูง ๗ ฟุต ราคาในราว ๖๐๐๐ รูเปีย อนุสาวรีย์นี้ได้ตั้งอยู่ในบ้านกงสุล” ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมอนันตรา ถนนเจริญประเทศ
หลังจากย้ายที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่ไปยังถนนบำรุงราษฎร์ อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย จึงย้ายไปไว้ ณ สุสานชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณฐานอนุสาวรีย์มีข้อความว่า “อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงความรักและความเคารพอย่างยิ่งยวดที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย และข้าราชบริพารที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นคร-ลำปาง แพร่ น่าน สวรรคโลก และระแหง ทั่วดินแดนตอนเหนือของสยาม” ปัจจุบันอนุสาวรีย์ยังคงได้รับการดูแล และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยสามารถเข้าชมได้ทางสโมสรยิมนาคา หรือประตูริมถนนเชียงใหม่ – ลำพูน ตรงข้ามสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.
#อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิคตอเรีย
#เอกสารจดหมายเหตุ
#หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่
#สำนักศิลปากรที่๗
#สถานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่
อ้างอิง
๑.บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือกการพิมพ์.
๒.บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๓.มานิจ ชุมสาย, ม.ล. ๒๕๒๔. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : พิทยาคาร.
๔.สมโชติ อ๋องสกุล. ๒๕๖๒. ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ชุมชน โดยศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซตน์ จำกัด.
๕.สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
๖.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร๕ กร ๕ ม. ๖๓/๑ เรื่องเปิดอนุสาวรีย์ที่เชียงใหม่.
(จำนวนผู้เข้าชม 1712 ครั้ง)