เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรม ตอน เครื่องสักการะในล้านนาห้าประการ
เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรม
ตอน เครื่องสักการะในล้านนาห้าประการ
ในวิถีชีวิตชาวล้านนา การจัดทำพิธีกรรมเพื่อการบูชาทางศาสนา หรือเพื่อคารวะผู้มียศศักดิ์ เช่น ครู หรืออาจารย์ ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องสักการะสำหรับใช้ในพิธีกรรมขึ้น โดยเครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมของชาวล้านนานั้น มีด้วยกัน ๕ ประการ คือ หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน และต้นดอก ซึ่งแฝงไปด้วยความหมายที่ดี ดังนี้
หมากสุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่ม ทำจากหมากแห้งแล้วผ่าให้เป็นซีก นำมาร้อยแล้วเสียบกับโครงไม้ไผ่หรือโครงหยวกกล้วยให้เป็นพุ่ม หมากสุ่ม มีความหมายถึงการทำทานหรือการให้ทานแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
หมากเบ็ง ทำจากใบตาลหรือใบมะพร้าวมาสานเป็นดอกไม้แล้วนำหมากสุกหรือหมากดิบมาไว้ตรงกลางของดอก เป็นจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดยึดโยงกับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม (ลักษณะที่ผูกติดกันนี้คนเหนือจึงเรียกว่า เบ็ง) หมากเบ็ง มีความหมายถึงการแสดงความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือกันของผู้คนในหมู่บ้าน
ต้นผึ้ง เป็นการนำเอาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นรูปดอกไม้ แล้วนำมาตกแต่ง เสียบเข้ากับก้านทางมะพร้าว แล้วจึงปักลงบนต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ ให้เป็นทรงพุ่ม ต้นผึ้ง มีความหมายถึงการให้แสงสว่าง ให้เกิดสติปัญญา ขี้ผึ้งจึงเป็นเครื่องสักการะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ต้นเทียน เป็นการนำเอาเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งมาผูกติดกับทางไม้มะพร้าวเสียบลงบนต้นกล้วย ปักให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม การถวายเทียนนั้นยังปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ในช่วงเข้าพรรษา ที่ถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นการมอบแสงสว่างให้เพื่อใช้ในการท่องหนังสือ
ต้นดอก หรือ ขันดอก หรือ ต่อมก่อม ขันต้อมล้อม มีลักษณะเป็นภาชนะทรงสูง ด้านในใส่โครงที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจึงนำดอกไม้ที่ทำจากกระดาษสีเงิน และกระดาษสีทอง มาประดับกันจนเป็นพุ่มกลมสวยงาม ต้นดอก มีความหมายถึงการสักการะถวายพระพรหมทั้ง ๔ เพื่อปกปักรักษางานพิธีกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
การประดิษฐ์เครื่องสักการะทั้ง ๕ ประการนั้น ทำให้เห็นว่า ผู้คนชาวล้านนามีความคิดที่ลึกซึ้งและรู้จักใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการทำความเคารพต่อสิ่งที่ตนให้การสักการะและบูชา
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง :
๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.
๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. "หมาก" ล้านนาคำเมือง.มติชนสุดสัปดาห์(online). https://www.matichonweekly.com/column/article_54118 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.
๓. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. "เครื่องสักการะล้านนา". ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม(Online). https://www.chiangmaiculture.net/web/index.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.
๔. ฐิติพร สะสม.ศึกษาวิเคราะห์. ๒๕๓๔. "ศึกษาวิเคราะห์เครื่องสักการะเพื่อเป็นพุทธบูชาของล้านนา". วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ ปีที่ ๕ (ฉบับที่ ๑) : ๘๗ - ๑๐๖.
ตอน เครื่องสักการะในล้านนาห้าประการ
ในวิถีชีวิตชาวล้านนา การจัดทำพิธีกรรมเพื่อการบูชาทางศาสนา หรือเพื่อคารวะผู้มียศศักดิ์ เช่น ครู หรืออาจารย์ ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องสักการะสำหรับใช้ในพิธีกรรมขึ้น โดยเครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมของชาวล้านนานั้น มีด้วยกัน ๕ ประการ คือ หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน และต้นดอก ซึ่งแฝงไปด้วยความหมายที่ดี ดังนี้
หมากสุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่ม ทำจากหมากแห้งแล้วผ่าให้เป็นซีก นำมาร้อยแล้วเสียบกับโครงไม้ไผ่หรือโครงหยวกกล้วยให้เป็นพุ่ม หมากสุ่ม มีความหมายถึงการทำทานหรือการให้ทานแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
หมากเบ็ง ทำจากใบตาลหรือใบมะพร้าวมาสานเป็นดอกไม้แล้วนำหมากสุกหรือหมากดิบมาไว้ตรงกลางของดอก เป็นจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดยึดโยงกับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม (ลักษณะที่ผูกติดกันนี้คนเหนือจึงเรียกว่า เบ็ง) หมากเบ็ง มีความหมายถึงการแสดงความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือกันของผู้คนในหมู่บ้าน
ต้นผึ้ง เป็นการนำเอาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นรูปดอกไม้ แล้วนำมาตกแต่ง เสียบเข้ากับก้านทางมะพร้าว แล้วจึงปักลงบนต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ ให้เป็นทรงพุ่ม ต้นผึ้ง มีความหมายถึงการให้แสงสว่าง ให้เกิดสติปัญญา ขี้ผึ้งจึงเป็นเครื่องสักการะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ต้นเทียน เป็นการนำเอาเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งมาผูกติดกับทางไม้มะพร้าวเสียบลงบนต้นกล้วย ปักให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม การถวายเทียนนั้นยังปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ในช่วงเข้าพรรษา ที่ถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นการมอบแสงสว่างให้เพื่อใช้ในการท่องหนังสือ
ต้นดอก หรือ ขันดอก หรือ ต่อมก่อม ขันต้อมล้อม มีลักษณะเป็นภาชนะทรงสูง ด้านในใส่โครงที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจึงนำดอกไม้ที่ทำจากกระดาษสีเงิน และกระดาษสีทอง มาประดับกันจนเป็นพุ่มกลมสวยงาม ต้นดอก มีความหมายถึงการสักการะถวายพระพรหมทั้ง ๔ เพื่อปกปักรักษางานพิธีกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
การประดิษฐ์เครื่องสักการะทั้ง ๕ ประการนั้น ทำให้เห็นว่า ผู้คนชาวล้านนามีความคิดที่ลึกซึ้งและรู้จักใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการทำความเคารพต่อสิ่งที่ตนให้การสักการะและบูชา
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง :
๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.
๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. "หมาก" ล้านนาคำเมือง.มติชนสุดสัปดาห์(online). https://www.matichonweekly.com/column/article_54118 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.
๓. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. "เครื่องสักการะล้านนา". ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม(Online). https://www.chiangmaiculture.net/web/index.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.
๔. ฐิติพร สะสม.ศึกษาวิเคราะห์. ๒๕๓๔. "ศึกษาวิเคราะห์เครื่องสักการะเพื่อเป็นพุทธบูชาของล้านนา". วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ ปีที่ ๕ (ฉบับที่ ๑) : ๘๗ - ๑๐๖.
(จำนวนผู้เข้าชม 7220 ครั้ง)