กู่เจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ที่บรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าหลวงและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ โดยกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอกเป็นสถานที่บรรจุพระอัฐิและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก เกิดจากพระดำริของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) ว่าจะรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และอัฐิพระญาติวงศ์ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งขณะนั้นประดิษฐานกระจัดกระจายในข่วงเมรุ* มาประดิษฐานไว้ที่เดียวกัน ณ บริเวณลานวัดสวนดอก ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เมื่อก่อสร้างกู่เรียบร้อยแล้วจึงอัญเชิญพระอัฐิและอัฐิของพระญาติผู้ใหญ่มาประดิษฐานไว้เป็นปฐม ดังจารึกการย้ายพระอัฐิซึ่งประดิษฐานด้านหน้ากู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ดังนี้
๑. พระเจ้ากาวิละ
๒. เจ้าหลวงธรรมลังกา (ช้างเผือก)
๓. เจ้าหลวงคำฟั่น (เศรษฐี)
๔. เจ้าหลวงพุทธวงษ์
๕. พระเจ้ามโหตระประเทศ
๖. พระเจ้ากาวิโลรส
๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์
๘. แม่เจ้าอุสาอัยกี
๙. แม่เจ้าทิพเกสรพระชนนี
๑๐. แม่เจ้ารินคำชนนีเจ้าอินทวโรรส
๑๑. แม่เจ้าพิณทอง
นับจากนั้น เมื่อมีการปลงศพเจ้าหลวงและพระญาติแล้วก็ได้มีการนำพระอัฐิและอัฐิไปบรรจุไว้ในกู่ที่สร้างขึ้น ณ สุสานวัดสวนดอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ หนานปวงคำ ตุ้ยเขียว ได้สำรวจและบันทึกว่ามีจำนวนกู่ จำนวน ๑๐๕ กู่ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี ได้สำรวจและจัดทำบัญชีอีกครั้ง และบันทึกว่ามีจำนวนกู่ทั้งหมด ๑๑๓ กู่
ทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดงานบุญถวายราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นครเชียงใหม่อายุครบ ๗๐๐ ปี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคณะเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดพิธีสักการะดำหัวกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ และเชิญชวนประชาชนร่วมพิธีด้วย ปัจจุบันมีการกำหนดจัดพิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย
๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
หมายเหตุ : ข่วงเมรุ เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีศพเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ตั้งอยู่บริเวณท้องทุ่งริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกระหว่างคุ้มท่าเจดีย์กิ่วทางตอนเหนือลงมาถึงท่าแพตอนใต้ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตลาด
วโรรส
อ้างอิง :
๑. พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. ๒๕๖๒. “ดำหัวกู่เจ้านายเชียงใหม่.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๑๙-๑๓๒.
๒. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๕๔. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
๓. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. ๒๕๕๕. เวียงสวนดอก. เชียงใหม่: ชุติมาพริ้นติ้ง.
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ที่บรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าหลวงและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ โดยกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอกเป็นสถานที่บรรจุพระอัฐิและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก เกิดจากพระดำริของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) ว่าจะรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และอัฐิพระญาติวงศ์ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งขณะนั้นประดิษฐานกระจัดกระจายในข่วงเมรุ* มาประดิษฐานไว้ที่เดียวกัน ณ บริเวณลานวัดสวนดอก ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เมื่อก่อสร้างกู่เรียบร้อยแล้วจึงอัญเชิญพระอัฐิและอัฐิของพระญาติผู้ใหญ่มาประดิษฐานไว้เป็นปฐม ดังจารึกการย้ายพระอัฐิซึ่งประดิษฐานด้านหน้ากู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ดังนี้
๑. พระเจ้ากาวิละ
๒. เจ้าหลวงธรรมลังกา (ช้างเผือก)
๓. เจ้าหลวงคำฟั่น (เศรษฐี)
๔. เจ้าหลวงพุทธวงษ์
๕. พระเจ้ามโหตระประเทศ
๖. พระเจ้ากาวิโลรส
๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์
๘. แม่เจ้าอุสาอัยกี
๙. แม่เจ้าทิพเกสรพระชนนี
๑๐. แม่เจ้ารินคำชนนีเจ้าอินทวโรรส
๑๑. แม่เจ้าพิณทอง
นับจากนั้น เมื่อมีการปลงศพเจ้าหลวงและพระญาติแล้วก็ได้มีการนำพระอัฐิและอัฐิไปบรรจุไว้ในกู่ที่สร้างขึ้น ณ สุสานวัดสวนดอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ หนานปวงคำ ตุ้ยเขียว ได้สำรวจและบันทึกว่ามีจำนวนกู่ จำนวน ๑๐๕ กู่ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี ได้สำรวจและจัดทำบัญชีอีกครั้ง และบันทึกว่ามีจำนวนกู่ทั้งหมด ๑๑๓ กู่
ทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดงานบุญถวายราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นครเชียงใหม่อายุครบ ๗๐๐ ปี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคณะเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดพิธีสักการะดำหัวกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ และเชิญชวนประชาชนร่วมพิธีด้วย ปัจจุบันมีการกำหนดจัดพิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย
๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
หมายเหตุ : ข่วงเมรุ เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีศพเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ตั้งอยู่บริเวณท้องทุ่งริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกระหว่างคุ้มท่าเจดีย์กิ่วทางตอนเหนือลงมาถึงท่าแพตอนใต้ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตลาด
วโรรส
อ้างอิง :
๑. พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. ๒๕๖๒. “ดำหัวกู่เจ้านายเชียงใหม่.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๑๙-๑๓๒.
๒. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๕๔. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
๓. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. ๒๕๕๕. เวียงสวนดอก. เชียงใหม่: ชุติมาพริ้นติ้ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 5938 ครั้ง)