ตัวเมืองกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาของชาวไทยถิ่นเหนือ
ตัวเมืองกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาของชาวไทยถิ่นเหนือ
อาณาจักรล้านนามีตัวอักษรใช้ คือ ตัวเมืองหรืออักษรธรรมล้านนา คนล้านนาจะแทนตนเองว่า "คนเมือง" และแทนอักษรที่ใช้ว่า "ตัวเมืองหรือตั๋วเมือง" ซึ่งอักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมืองนั้น เป็นอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นภาษาที่เกิดขึ้นมานานในดินแดนล้านนานับพันปี อักษรธรรมล้านนานิยมใช้บันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา พิธีกรรม พระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก พงศาวดารตำนาน ศิลาจารึก ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา คติคำสอนต่าง ๆ ตำราไสยศาสตร์
ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๔๘๒) เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง โดยล้านนาได้ถูกผนวกเข้ารวมกับราชอาณาจักรไทยกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย มีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาทางราชการ ทำให้เกิดกระแสการเรียนรู้ภาษาไทยกลางมากขึ้น วัดต่าง ๆ จึงลดบทบาทในการสอนอักษรตัวเมืองลงไป
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักตัวเมือง แต่ยังใช้คำเมืองในการสื่อสารกันในกลุ่มชาวไทยถิ่นเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน และยังพบตัวเมืองตามป้ายวัดหรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีไม่มากนัก วัดที่เปิดสอนการเรียนตัวเมืองให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ภาษาตัวเมือง คือ วัดพระวรสิงห์มหาราช (วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดสอนทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
๒. หนังสือให้บริการของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
อ้างอิง :
๑. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. "ตั๋วเมือง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" สาระน่ารู้ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/955357/, ๘ สิงหาคม ๒๕๖๔.
๒. วัลลภ มณีเชษฐา. ๒๕๖๑. "กระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา." วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์" ๑๔ (๑): ๑๗๖-๑๘๘.
๓. สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. อักขรธัมม์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ.
๔. Tipitaka. ๒๕๕๙. “อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม”. อยู่ในบุญ (Online). https://www.dmc.tv ,๕ สิงหาคม ๒๕๖๔.
อาณาจักรล้านนามีตัวอักษรใช้ คือ ตัวเมืองหรืออักษรธรรมล้านนา คนล้านนาจะแทนตนเองว่า "คนเมือง" และแทนอักษรที่ใช้ว่า "ตัวเมืองหรือตั๋วเมือง" ซึ่งอักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมืองนั้น เป็นอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นภาษาที่เกิดขึ้นมานานในดินแดนล้านนานับพันปี อักษรธรรมล้านนานิยมใช้บันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา พิธีกรรม พระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก พงศาวดารตำนาน ศิลาจารึก ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา คติคำสอนต่าง ๆ ตำราไสยศาสตร์
ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๔๘๒) เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง โดยล้านนาได้ถูกผนวกเข้ารวมกับราชอาณาจักรไทยกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย มีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาทางราชการ ทำให้เกิดกระแสการเรียนรู้ภาษาไทยกลางมากขึ้น วัดต่าง ๆ จึงลดบทบาทในการสอนอักษรตัวเมืองลงไป
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักตัวเมือง แต่ยังใช้คำเมืองในการสื่อสารกันในกลุ่มชาวไทยถิ่นเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน และยังพบตัวเมืองตามป้ายวัดหรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีไม่มากนัก วัดที่เปิดสอนการเรียนตัวเมืองให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ภาษาตัวเมือง คือ วัดพระวรสิงห์มหาราช (วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดสอนทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
๒. หนังสือให้บริการของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
อ้างอิง :
๑. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. "ตั๋วเมือง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" สาระน่ารู้ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/955357/, ๘ สิงหาคม ๒๕๖๔.
๒. วัลลภ มณีเชษฐา. ๒๕๖๑. "กระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา." วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์" ๑๔ (๑): ๑๗๖-๑๘๘.
๓. สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. อักขรธัมม์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ.
๔. Tipitaka. ๒๕๕๙. “อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม”. อยู่ในบุญ (Online). https://www.dmc.tv ,๕ สิงหาคม ๒๕๖๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 1841 ครั้ง)