โรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายที่จะขยายโรงเรียนสอนหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้เรียนรู้วิชาหนังสือไทย สามารถอ่านเขียนและคิดเลข อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ ข้าหลวงพิเศษที่เสด็จขึ้นมาจัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางชายแดนด้านเมืองนครเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) จึงสนองพระบรมราโชบายด้วยการทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นแห่งแรกที่ศาลากลางสวน ในบริเวณตำหนักที่ประทับ ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่”
ต่อมา ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออก “ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง” ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อขยายการศึกษาหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษา รวมทั้งให้เกิดความเป็นเอกภาพของราชอาณาจักร จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนวัดพระเจดีย์หลวง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระเจดีย์หลวงนครเชียงใหม่” และในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย” ตามที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานนามไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ นับเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง :
๑. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนา การศึกษา และสังคมนครเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๒. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ม.ป.ป. เกี่ยวกับโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (Online). https://www.yupparaj.ac.th/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายที่จะขยายโรงเรียนสอนหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้เรียนรู้วิชาหนังสือไทย สามารถอ่านเขียนและคิดเลข อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ ข้าหลวงพิเศษที่เสด็จขึ้นมาจัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางชายแดนด้านเมืองนครเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) จึงสนองพระบรมราโชบายด้วยการทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นแห่งแรกที่ศาลากลางสวน ในบริเวณตำหนักที่ประทับ ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่”
ต่อมา ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออก “ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง” ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อขยายการศึกษาหนังสือไทยออกไปทั่วราชอาณาจักร แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษา รวมทั้งให้เกิดความเป็นเอกภาพของราชอาณาจักร จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เรียกชื่อว่า “โรงเรียนวัดพระเจดีย์หลวง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระเจดีย์หลวงนครเชียงใหม่” และในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย” ตามที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานนามไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ นับเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง :
๑. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนา การศึกษา และสังคมนครเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๒. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ม.ป.ป. เกี่ยวกับโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (Online). https://www.yupparaj.ac.th/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔
(จำนวนผู้เข้าชม 1752 ครั้ง)