การจัดแสดง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนีแบ่งการจัดแสดงเป็น ๒ ส่วน
๑.การจัดแสดงภาพในอาคารจัดแสดง แบ่งออกเป็น
ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะจีน
ภาพห้องจัดแสดงชั้นล่าง
ภาพห้องจัดแสดงชั้นล่าง
ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก ในห้องจัดแสดงชั้นบนนี้ มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ พระพุทธรูปโบราณลักษณะนี้มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในประเทศ
ภาพห้องจัดแสดงชั้นบน (ขวา)พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อเพชร) ศิลปะล้านนา-สุโขทัยโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ
ภาพห้องจัดแสดงชั้นบน (ขวา)พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อเพชร) ศิลปะล้านนา-สุโขทัยโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ
๒.การจัดแสดงนอกอาคารจัดแสดง
อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
ภาพอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
ภาพอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
(จำนวนผู้เข้าชม 1505 ครั้ง)