...

พระพิมพ์ วัดส่องคบ
พระพิมพ์ วัดส่องคบ พระพิมพ์กลุ่มนี้พบที่วัดส่องคบ อ.เมือง จ.ชัยนาท จัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 20 ที่ยังมีลักษณะอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยปรากฎอยู่ 1. ขนาด กว้าง 4.4 ซม. ยาว 5 ซม. วัสดุ โลหะชิน 2. ขนาด กว้าง 4.7 ซม. ยาว 5.5 ซม. วัสดุ โลหะชิน 3. ขนาด กว้าง 6.5 ซม. ยาว 7.2 ซม. วัสดุ โลหะชิน เดิมวัดส่องคบมีเจดีย์ร้างแต่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน ใน พ.ศ.2494 พระครูบริรักษ์บรมธาตุ (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของพระชัยนาทมุนี นวม สุทตฺโต) ค้นพบจารึกลานทองและลานเงินในเจดีย์ดังกล่าว และมอบให้กรมศิลปากรในเวลาต่อมา จารึกวัดส่องคบ1 นั้นมีความสำคัญในแง่ที่มีการกล่าวถึงชื่อเมือง “ไชยสถาน” ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองชัยนาทเดิม ปัจจุบันแผ่นจารึกวัดส่องคบเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

(จำนวนผู้เข้าชม 2980 ครั้ง)


Messenger