...

โคลงทศรถสอนพระรามฯ
 ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม
 
ชื่อเรื่อง  :  โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง
 
โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๔
 
ครั้งที่พิมพ์  :  พระราชนิพนธ์โคลง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์พิมพ์ครั้งที่ สอง
 
:  สมุทรโฆษคำฉันท์ พิมพ์ครั้งที่ สี่
 
              :  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พิมพ์ครั้งที่ สอง
 
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
 
สำนักพิมพ์  :  เจริญวิทย์การพิมพ์
 
จำนวนหน้า  :  ๙๕ หน้า
 
หมายเหตุ  :  ที่ระลึกในโอกาสเปิดศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี
 
 
 
                   เรื่องโคลงครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์นี้ ประกอบด้วยคำโคลงเรื่อง พาลีสอนน้อง ทศรถสอนพระราม และราชสวัสดิ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อง พาลีสอนน้องนั้น เป็นตอนที่พาลีรู้ว่าตนจะตาย จึงเรียกลูกคือ องคต และน้องคือ สุครีพ มาสั่งสอนให้รู้จักประพฤติตัวในการที่จะไปเป็นข้าพระรม เรื่องทศรถสอนพระราม เป็นตอนที่ท้าวทศรถให้โอวาทพระราม เมืองทรงมอบเมืองให้ครอบครอง ส่วนเรื่องราชสวัสดินั้น เป็นเรื่องวิธุรบัณฑิตสอนบุตรในวิธุรชาดกที่ ๙ แห่งทศชาติ ซึ่งกล่าวถึงหลักความประพฤติของอำมาตย์ผู้อยู่ใกล้ชิดพระราชา
 
                   เรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ที่พิมพ์อยู่ในฉบับนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ต่อจากที่พระมหาราชครูได้แต่งค้างไว้ ตั้งแต่ตอนที่พระสมุทรโฆษและ
 
นางพินทุมดีใช้บนเริ่มด้วยความว่า
 
                             “พิศพระกุฏีอา    ศรมสถานตระการกล
 
                             แกมแก้วตระกลยน  ตประกิตประเกาะกัน”
 
                   จบถึงตอนที่พิทยาธร ๒ ตนรบกัน ตนหนึ่งแพ้ตกลงไปในสวนของพระสมุทรโฆษ ความว่า
 
                             “ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู
 
                             โอ้แก้วกับตนกู   ฤเห็น”
 
                   สำหรับเรื่องโคลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ นั้น
 
เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นคำโคลงที่พรรณนาถึงความรุ่งโรจน์ของปราสาทราชมนเทียรในนครลพบุรี และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ซึ่งมิได้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารอีกด้วย

(จำนวนผู้เข้าชม 9259 ครั้ง)


Messenger