กำเนิดโอ่งมังกร
#เรื่องมีอยู่ว่า... ตอน #กำเนิดโอ่งมังกร
โอ่งมังกรเป็นของดีเมืองราชบุรีมาอย่างยาวนานถือว่าเป็นของหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีจะต้องนำเข้าจากประเทศจีน เพราะไม่สามารถผลิตได้จากในประเทศ
ราวปี 2476 นายฮง แซ่เตี่ย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ชาวจีนอพยพที่มาตั้งรกรากที่จังหวัดราชบุรี พบว่าดินที่จังหวัดราชบุรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับดินที่บ้านเกิดของตนเอง คือ เป็นดินที่มีเนื้อดี สีสวย ทนไฟ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา จึงนำตัวอย่างดินกลับไปทดลอง และตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ชื่อว่า เถ้าเซ่งหลี เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง #โอ่งมังกร สามารถสร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศ
การผลิตโอ่งในยุคแรก ๆ เป็นโอ่งไม่มีลวดลาย เรียกว่า โอ่งเลี่ยน คือ โอ่งเคลือบที่ยังไม่เขียนลาย มีเพียงลายประทับเป็นรูปง่าย ๆ ที่บ่าโอ่งเท่านั้น ภายหลังจึงมีการทำเป็นลวดลายมังกรตามความเชื่อของคนจีนที่ว่า มังกร เป็นสัตว์มงคล การวาดลวดลายมังกรบนโอ่งจะวาดด้วยมือในลักษณะ Free hand เป็นการปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปร่างมังกร โดยไม่ต้องมีแบบร่างจะทำโดยช่างผู้มีความชำนาญ
โอ่งเป็นภาชนะกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค เมื่อใส่น้ำแล้วจึงมีน้ำซึมบ้างเล็กน้อย การซึมของน้ำจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำรอบ ๆ โอ่ง ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากโอ่ง ทำให้น้ำในโอ่งเย็นกว่าใส่ภาชนะอื่น โอ่งมังกรราชบุรี จึงได้รับความนิยมและกลายเป็นภาชนะกักเก็บน้ำประจำบ้านทั่วทุกครัวเรือน
ปัจจุบันการผลิตโอ่งมังกรลดน้อยลงเนื่องจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการใช้ภาชนะกักเก็บน้ำที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ แต่อุตสาหกรรมโอ่งในจังหวัดราชบุรีก็ไม่ได้หยุดตัวเองไว้เท่านั้น มีการพัฒนารูปร่างและลวดลายให้มีความทันสมัยจากลายมังกรก็เปลี่ยนเป็นลวดลายอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับโอ่งมังกรในห้องมรดกทางศิลปวัฒนธรรม นำเสนอประวัติความเป็นมาของโอ่งมังกร ขั้นตอนและกรรมวิธีการทำโอ่งให้ท่านที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้
**คลิปวิดีโอการวาดลวดลายในลักษณะ free hand ของ #โรงงานเจริญดินไทย ได้ที่
https://www.facebook.com/watch/?v=1371889016217104
เรียบเรียงและศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐ
นิสิตฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
โอ่งมังกรเป็นของดีเมืองราชบุรีมาอย่างยาวนานถือว่าเป็นของหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีจะต้องนำเข้าจากประเทศจีน เพราะไม่สามารถผลิตได้จากในประเทศ
ราวปี 2476 นายฮง แซ่เตี่ย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ชาวจีนอพยพที่มาตั้งรกรากที่จังหวัดราชบุรี พบว่าดินที่จังหวัดราชบุรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับดินที่บ้านเกิดของตนเอง คือ เป็นดินที่มีเนื้อดี สีสวย ทนไฟ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา จึงนำตัวอย่างดินกลับไปทดลอง และตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ชื่อว่า เถ้าเซ่งหลี เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง #โอ่งมังกร สามารถสร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศ
การผลิตโอ่งในยุคแรก ๆ เป็นโอ่งไม่มีลวดลาย เรียกว่า โอ่งเลี่ยน คือ โอ่งเคลือบที่ยังไม่เขียนลาย มีเพียงลายประทับเป็นรูปง่าย ๆ ที่บ่าโอ่งเท่านั้น ภายหลังจึงมีการทำเป็นลวดลายมังกรตามความเชื่อของคนจีนที่ว่า มังกร เป็นสัตว์มงคล การวาดลวดลายมังกรบนโอ่งจะวาดด้วยมือในลักษณะ Free hand เป็นการปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปร่างมังกร โดยไม่ต้องมีแบบร่างจะทำโดยช่างผู้มีความชำนาญ
โอ่งเป็นภาชนะกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค เมื่อใส่น้ำแล้วจึงมีน้ำซึมบ้างเล็กน้อย การซึมของน้ำจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำรอบ ๆ โอ่ง ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากโอ่ง ทำให้น้ำในโอ่งเย็นกว่าใส่ภาชนะอื่น โอ่งมังกรราชบุรี จึงได้รับความนิยมและกลายเป็นภาชนะกักเก็บน้ำประจำบ้านทั่วทุกครัวเรือน
ปัจจุบันการผลิตโอ่งมังกรลดน้อยลงเนื่องจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการใช้ภาชนะกักเก็บน้ำที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ แต่อุตสาหกรรมโอ่งในจังหวัดราชบุรีก็ไม่ได้หยุดตัวเองไว้เท่านั้น มีการพัฒนารูปร่างและลวดลายให้มีความทันสมัยจากลายมังกรก็เปลี่ยนเป็นลวดลายอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับโอ่งมังกรในห้องมรดกทางศิลปวัฒนธรรม นำเสนอประวัติความเป็นมาของโอ่งมังกร ขั้นตอนและกรรมวิธีการทำโอ่งให้ท่านที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้
**คลิปวิดีโอการวาดลวดลายในลักษณะ free hand ของ #โรงงานเจริญดินไทย ได้ที่
https://www.facebook.com/watch/?v=1371889016217104
เรียบเรียงและศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐ
นิสิตฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(จำนวนผู้เข้าชม 39440 ครั้ง)