องค์ความรู้ : โบราณสถานวัดพระธาตุสวี จังหวัดชุมพร
พระธาตุสวี หรือพระบรมธาตุสวี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวัดสวี ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง เป็นเจดีย์สูง ๑๔.๒๕ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ ๘.๕๐ เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง และมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่
พระธาตุสวี หรือพระบรมธาตุสวี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวัดสวี ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง เป็นเจดีย์สูง ๑๔.๒๕ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ ๘.๕๐ เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง และมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่
มีตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่ง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี ได้พบเหตุการณ์ประหลาด มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐพากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์และสมโภช ๗ วัน ๗ คืน แล้วขนานนามพระเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุกาวีปีก” (วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนสั้นลงว่า พระธาตุสวี ตำนานยังเล่าอีกว่า ก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชจะเสด็จยกทัพกลับ ทรงเรียกหานายทหารที่สมัครใจจะอยู่ดูแลรักษาองค์พระธาตุ เผอิญมีทหารนายหนึ่งชื่อ “นายเมือง” รับอาสา พระองค์จึงรับสั่งให้ตัดศีรษะนายเมืองเพื่อเซ่นสรวงเป็นดวงวิญญาณรักษาพระธาตุสืบไป โดยตั้งศาลไว้เรียกว่า “ศาลพระเสื้อเมือง” ปัจจุบันอยู่ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของพระธาตุสวี ซึ่งถัดไปจะเป็นแม่น้ำสวี เดิมเป็นอาคารไม้ก่อเป็นโรงเรือนปิดทึบ ต่อมาได้บูรณะใหม่เป็นอาคารทรงไทยหลังคาจั่วแบบตรีมุข มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ สำหรับวัดสวี มีประวัติว่าตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อมาในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา
มีตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่ง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี ได้พบเหตุการณ์ประหลาด มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐพากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์และสมโภช ๗ วัน ๗ คืน แล้วขนานนามพระเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุกาวีปีก” (วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนสั้นลงว่า พระธาตุสวี ตำนานยังเล่าอีกว่า ก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชจะเสด็จยกทัพกลับ ทรงเรียกหานายทหารที่สมัครใจจะอยู่ดูแลรักษาองค์พระธาตุ เผอิญมีทหารนายหนึ่งชื่อ “นายเมือง” รับอาสา พระองค์จึงรับสั่งให้ตัดศีรษะนายเมืองเพื่อเซ่นสรวงเป็นดวงวิญญาณรักษาพระธาตุสืบไป โดยตั้งศาลไว้เรียกว่า “ศาลพระเสื้อเมือง” ปัจจุบันอยู่ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของพระธาตุสวี ซึ่งถัดไปจะเป็นแม่น้ำสวี เดิมเป็นอาคารไม้ก่อเป็นโรงเรือนปิดทึบ ต่อมาได้บูรณะใหม่เป็นอาคารทรงไทยหลังคาจั่วแบบตรีมุข มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ สำหรับวัดสวี มีประวัติว่าตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อมาในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุราวสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง หน้า ๑๐ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๓๐ ตารางวา
ข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
(จำนวนผู้เข้าชม 22131 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน