ประติมากรรมหินที่ขุดพบ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์







          เมื่อ พ.ศ. 2545 กรมศิลปากรดำเนินงานโบราณคดีในพื้นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ มากมาย แต่โบราณวัตถุชิ้นพิเศษ ที่ขุดพบในครั้งนั้น คือประติมากรรมหินอ่อน ที่มีรูปแแบบศิลปะทางวัฒนธรรมชาติตะวันตก โดยพบบริเวณวิหารหลวง จำนวน 3 ชิ้น สภาพแตกหัก รายละเอียดดังนี้
          ชื้นที่ 1 ชิ้นส่วนรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์ เพศหญิง มีหน้าอกนูน ที่คอประดับด้วยเชือกหรือขนสัตว์ถักเปีย ขนาดกว้าง 39 สูง 33.5 เซนติเมตร
          ชื้นที่ 2 ชิ้นส่วนท่อนล่างของสัตว์ มีกรงเล็บขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง 35.5 สูง 37 เซนติเมตร
          ชื้นที่ 3 ชิ้นส่วนรูปสัตว์ มีเกล็ด ส่วนกลางประดับด้วยลายพรรณพฤกษาใบไม้ม้วนแบบตะวันตก ขนาดกว้าง 51.2 สูง 28.5 เซนติเมตร
          จากการเปรียบเทียบรูปแบบ โดยเฉพาะชิ้นส่วนรูปอกและรูปขาสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูป แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) ที่เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ประติมากรรมรูปแบบนี้ นิยมประดับตามพื้นที่พระราชวังหรือสถานที่สำคัญในยุโรป ที่กรุงศรีอยุธยาก็นำประติมากรรมจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นของใหม่และหายาก มาประดับ ณ สถานที่สำคัญเช่นกัน ดังหลักฐานที่ขุดพบบริเวณวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์
 
------------------------------------------------
แหล่งข้อมูล :
โครงการการขุดแต่งและออกแบบเพื่อการบูรณะวัดพระศรีสรรเพชญ์ พ.ศ. 2545
------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/pfbid02bk1rm1ojGBxFCM7fZmb6cENQCwCRcUHYREQ1FXWD8b8JLTBza2ARZEmoTMLaj673l
------------------------------------------------
 
 
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
 

(จำนวนผู้เข้าชม 2331 ครั้ง)

Messenger