กรมศิลปากรร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี ขอเชิญชมนิทรรศการมรดกทางวัฒนธรรมของเกาหลีในรูปแบบดิจิทัลเสมือนจริง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี ขอเชิญ “สัมผัสประสบการณ์ใหม่ นิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง” (A New Encounter : Immersive Gallery of Korean Art) จัดแสดงพุทธศิลป์ของไทยและเกาหลี ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖
นิทรรศการครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลีกับกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาอย่างยาวนาน และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งสองหน่วยงานได้ลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้รับความร่วมมืออย่างดีจากศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย โดยนิทรรศการเป็นการนำมรดกทางวัฒนธรรมแบบประเพณีของเกาหลีมาจัดแสดงร่วมกับสื่อดิจิทัลให้มีบรรยากาศเสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการถ่ายทำและอธิบายเรื่องราว ร่วมกับการแสดงประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาของไทยและเกาหลี ประกอบด้วย
๑. การฉายภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลเสมือนจริง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี ได้จัดทำขึ้น จำนวน ๒ เรื่อง คือ เรื่อง "การเดินทางของวิญญาณ" สร้างขึ้นจากจิตรกรรมในพุทธศาสนา "พญายมราชทั้งสิบ" และเรื่อง "กระบวนพยุหยาตราและผู้คน" โดยสร้างขึ้นจาก อึย-คเว (แบบธรรมเนียมในราชสำนัก) บันทึกทางการของราชสำนักโชซอน ซึ่งจิตรกรรมพุทธศิลป์และบันทึกทางการของราชสำนักโชซอนทั้งสองรายการ เป็นสมบัติที่เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี นำมาจัดทำใหม่ในรูปแบบของดิจิทัล ใช้แสงและสีที่งดงามบนจอขนาดใหญ่ และเสียงกึกก้องที่จะทำให้สัมผัสกับชีวิตในอดีต ณ เวลาปัจจุบันอย่างเต็มตา
๒. การจัดแสดงประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ องค์ รูปบุคลาธิษฐานของความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ สะท้อนถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาในอดีตของเกาหลีและไทย แม้รูปลักษณ์ ช่วงเวลาที่สร้าง และฝีมือช่างแตกต่างกัน แต่รูปเคารพทั้งสองต่างก็สื่อสะท้อนถึงผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ โดยประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลปะเกาหลี สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ขุดพบที่วัดพงฮวังซา เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี ส่วนพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรของไทย ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ พบที่ วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)
๒. การจัดแสดงประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ องค์ รูปบุคลาธิษฐานของความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ สะท้อนถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาในอดีตของเกาหลีและไทย แม้รูปลักษณ์ ช่วงเวลาที่สร้าง และฝีมือช่างแตกต่างกัน แต่รูปเคารพทั้งสองต่างก็สื่อสะท้อนถึงผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ โดยประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลปะเกาหลี สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ขุดพบที่วัดพงฮวังซา เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี ส่วนพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรของไทย ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ พบที่ วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)
(จำนวนผู้เข้าชม 554 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน