สถานีประมงจังหวัดแพร่
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: สถานีประมงจังหวัดแพร่ --
เมื่อหลายสิบปีก่อน รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมประมงทุกภูมิภาค โดยทยอยจัดตั้งสถานีประมงในหลายจังหวัด เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพประมง คิดค้น วิจัย พัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ราษฎร
จังหวัดแพร่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ รัฐจึงมอบหมายกรมประมงจัดตั้งสถานีประมงขึ้น
จากแผนที่ที่นำมาเสนอนี้ แสดงบริเวณที่ตั้งสถานีประมง ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะใช้พื้นที่ในอำเภอหนองม่วงไข่ ใกล้กับหนองน้ำชื่อนั้น เป็นบริเวณไร่ข้าวโพดเดิม ขนาด 94 ไร่ ซึ่งองค์ประกอบทางกายภาพรวมๆแล้ว คือแหล่งชุมชนพร้อมมูล มีทั้งหมู่บ้าน ตลาดสด โรงเรียน วัด การประปา และไม่ไกลจากแม่น้ำยม แม่น้ำที่จะใช้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมประมงต่างๆได้ต่อไป
นอกจากนั้น พื้นที่ยังเป็นบริเวณกึ่งที่ลุ่มที่ดอน ไม่แปลกแยกจากพื้นที่ข้างเคียง ทำให้ในอนาคตสามารถขยายสถานีประมงได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม แผนที่นี้หาได้ประกอบด้วยแผนผังอาคาร บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือโรงเรือนต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีแบบแปลนขณะก่อสร้างสถานีประมง มิฉะนั้นเราจะเห็นสถานีประมงจังหวัดแพร่เมื่อแรกเริ่มชัดเจน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/6 แผนที่สังเขปบริเวณที่ตั้งสถานีประมงจังหวัดแพร่ [ม.ท.]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อหลายสิบปีก่อน รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมประมงทุกภูมิภาค โดยทยอยจัดตั้งสถานีประมงในหลายจังหวัด เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพประมง คิดค้น วิจัย พัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ราษฎร
จังหวัดแพร่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ รัฐจึงมอบหมายกรมประมงจัดตั้งสถานีประมงขึ้น
จากแผนที่ที่นำมาเสนอนี้ แสดงบริเวณที่ตั้งสถานีประมง ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะใช้พื้นที่ในอำเภอหนองม่วงไข่ ใกล้กับหนองน้ำชื่อนั้น เป็นบริเวณไร่ข้าวโพดเดิม ขนาด 94 ไร่ ซึ่งองค์ประกอบทางกายภาพรวมๆแล้ว คือแหล่งชุมชนพร้อมมูล มีทั้งหมู่บ้าน ตลาดสด โรงเรียน วัด การประปา และไม่ไกลจากแม่น้ำยม แม่น้ำที่จะใช้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมประมงต่างๆได้ต่อไป
นอกจากนั้น พื้นที่ยังเป็นบริเวณกึ่งที่ลุ่มที่ดอน ไม่แปลกแยกจากพื้นที่ข้างเคียง ทำให้ในอนาคตสามารถขยายสถานีประมงได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม แผนที่นี้หาได้ประกอบด้วยแผนผังอาคาร บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือโรงเรือนต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีแบบแปลนขณะก่อสร้างสถานีประมง มิฉะนั้นเราจะเห็นสถานีประมงจังหวัดแพร่เมื่อแรกเริ่มชัดเจน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/6 แผนที่สังเขปบริเวณที่ตั้งสถานีประมงจังหวัดแพร่ [ม.ท.]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 591 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน