เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ข้าว : ร่องรอยหลักฐานข้าวยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย (ตอนที่ ๑)
ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในตระกูลเดียวกับพืชประเภทหญ้า ลักษณะลำต้นเป็นปล้องกลวง ออกดอกเป็นช่อหรือรวง ดอกข้าวนี้จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดข้าวที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์เรา
ข้าวมีหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศ โดยสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในทวีปเอเชีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oryza Sativa (อ่านว่า โอไรซ่า ซาติว่า) แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิดใหญ่ตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก ดังนี้
- Oryza Sativa Indica (โอไรซ่า ซาติว่า อินดิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น บริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นพันธุ์ข้าวที่มาจากอินเดีย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Mainland of Southeast Asia) ได้แก่ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะเมล็ดข้าวยาวเรียว
- Oryza Sativa Japonica (โอไรซ่า ซาติว่า จาโปนิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นถึงอบอุ่น) พบในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี เมล็ดข้าวสั้นป้อม เมื่อหุงสุกแล้วมีลักษณะค่อนข้างเหนียว
- Oryza Sativa Javanica (โอไรซ่า ซาติว่า ชาวานิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น เป็นพันธุ์ข้าวที่พบในประเทศอินโดนีเซีย
ในดินแดนไทยพบร่องรอยของเมล็ดข้าวตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีมาแล้วที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะเป็นข้าวเมล็ดสั้นซึ่งอาจเป็นข้าวป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ
ภาพ: เมล็ดข้าวพบภายในถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินกลาง อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่มา: “Hoabinhian Horticulture : The Evidence and the Question From Northwest THAILAND”.
ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีหลักฐานของข้าวปลูกที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยพบร่องรอยข้าวติดอยู่บนเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทโลหะ ได้แก่ ขวานสำริด และเครื่องมือเหล็ก รวมทั้งยังพบอีกว่าคนโบราณสมัยนั้นได้ใช้แกลบข้าวเป็นส่วนผสมอยู่ในเนื้อภาชนะดินเผา นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีหลักฐานที่แสดงร่องรอยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (วัวควาย) จากภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาที่ผาหมอนน้อย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ภาพเขียนสีบนผนังเพิงผา แสดงร่องรอยการเพาะปลูกข้าว (นาข้าว) และเลี้ยงปศุสัตว์ (วัวควาย) ที่ผาหมอนน้อย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี
--------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย https://www.facebook.com/page/1088662974512680/search/?q=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2
(จำนวนผู้เข้าชม 5179 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน