เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
วัดศรีสวาย เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๕๐
ภาพเก่านี้ถูกถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสโบราณสถานเมืองสุโขทัยหลายแห่ง และพระราชนิพนธ์ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง กล่าวถึงโบราณสถานวัดศรีสวายแห่งนี้โดยสรุปว่าทรงพบรูปพระสยุมภู (พระอิศวร) ในวิหาร ก็ทรงตั้งข้อสันนิษฐานว่าวัดศรีสวายเดิมอาจเป็นเทวสถานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้วแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาในภายหลัง
หากท่านผู้อ่านมีเวลาอ่านเพิ่มเติมผู้เขียนได้นำข้อความต้นฉบับจากพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงมาประกอบเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของโบราณสถานวัดศรีสวายเมื่อครั้งนั้นเพิ่มมากขึ้นดังนี้ “...ยังมีสถานที่ภายในกำแพงซึ่งควรดูอยู่อีกแห่งหนึ่ง คือ สถานที่ราษฎรเรียกว่า วัดศรีสวาย อยู่ใกล้วัดมหาธาตุไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่นี้มีคูรอบและมีกำแพงก่อด้วยแลงแท่งเขื่องๆ ในนั้นมีเป็นปรางค์อยู่ ๓ ยอด แต่แยกๆ กันอยู่เป็น ๓ หลัง หลังกลางฐานสี่เหลี่ยม ด้านละ ๓ วา สูง ๑๐ วา หลังข้างๆ สองหลังเท่ากัน ฐานสี่เหลี่ยมด้านละ ๑๐ ศอก สูง ๖ วา รูปปรางค์นั้นเป็นอย่างเทวสถาน ๓ ยอดที่ลพบุรีมีลวดลายอย่างทำนองนั้น คือ เป็นรูปพระเป็นเจ้าทั้ง ๓ และรูปนารายณ์ปางต่างๆ ที่ช่องผนังข้างล่างเดิมมีรูปพระนารายณ์ปั้นไว้ แต่เมื่อไปดูนั้นหลุดทลายเสียแล้วยังคงเห็นแต่เป็นเงาๆ อยู่ที่พื้นผนัง ไม่แลเห็นเป็นสี่กร แต่เห็นได้ว่าถือจกรมือหนึ่ง ราษฎรผู้เฒ่าได้เล่าว่า ได้เคยเห็นเป็นรูปสี่กร ต่อหน้าปรางค์ใหญ่เป็นโบสถ์มีผนังทึกเจาะช่องแสงสว่างเป็นรูปลูกกรงไว้เป็นช่องๆ มีประตูทางเข้าตรงหน้า ๑ ประตู ด้านข้างๆ ละประตู รวม ๓ ช่อง กรอบประตูข้างบนทำด้วยศิลาดำ (หินชนวน) ทั้งแท่งแผ่นหนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอกคืบ หนาประมาณ ๖ นิ้ว ประตูด้านข้างมีแห่งละแผ่น แต่บนประตูด้านตรงหน้าพาดเรียงกันถึง ๔ แผ่น เมื่อเข้าไปในโบสถ์แล้วแลเห็นทางเข้าไปในปรางค์ได้มองเข้าไปเห็นหลักไม้ปักอยู่ ๒ หลักท่าทางดูเหมือนที่นั่งพระยายืนชิงช้าจึงสันนิษฐานว่าที่นี้คงเป็นโบสถ์พราหมณ์ และผู้เป็นตัวแทนพระเป็นเจ้าในพิธีรำเขนงและโล้ยัมพวายนั้น คงนั่งในปรางค์นั้นเองค้นไปค้นมาก็เผอิญไปพบศิลาทำเป็นรูปพระสยุมภูทิ้งอยู่อันหนึ่ง ซึ่งดูเป็นพยานขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ว่าวัดศรีสวายนี้คือโบสถ์พราหมณ์...” ซึ่งในเชิงอรรถได้กล่าวเพิ่มเติมว่าวัดศรีสวายเดิมเป็นเทวสถานเป็นแน่ นามเดิมเห็นจะเรียกว่า “ศรีศิวายะ” . *๑ ศอก เท่ากับ ๕๐ เซนติเมตร **๑ วา เท่ากับ ๒ เมตร
------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 2899 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน