เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน : โบราณวัตถุค้นพบใหม่ของจังหวัดสุรินทร์
พระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน
ศิลปะล้านช้าง(ลาว)
พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ (๓๐๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว)
วัสดุ : แผ่นทอง แผ่นเงิน ดินหุ่นเนื้อว่าน ประวัติ : นางสาวไตและนางสาวกาญจนา บุญเลิศ ราษฎรตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบในที่นาของตน และนำไปถวาย ณ วัดบ้านตรมไพร ต่อมาได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔
ลักษณะทางศิลปกรรม ๑.พระพุทธรูปบุทอง ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียง(ฐานหน้ากระดาน) ปรากฏแผ่นทองเพียงครึ่งองค์ ภายในพบดินหุ่นเนื้อว่าน ๒.พระพุทธรูปบุเงิน ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว พบทั้งฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ฐานบัวถลา ฐานลายใบไม้ม้วน คั่นด้วยลูกแก้วอกไก่ และพบจารึกที่ฐานชั้นล่างสุด ปรากฏเป็นอักษรธรรมอีสานและอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-อีสาน ข้อความในจารึกกล่าวถึงการสร้าง สร้างเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใด ปัจจุบันยังไม่สามารถอ่านและแปลความจารึกได้ทั้งหมด เนื่องจากอยู่ระหว่างรอดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม
คติการสร้างพระพุทธรูปบุทอง-บุเงินนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับและเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ประเทศไทยส่วนมากพบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เป็นต้น สำหรับจังหวัดสุรินทร์มีการค้นพบพระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน จากแหล่งโบราณคดีครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ณ โบราณสถานปราสาทเต่าทอง ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ และค้นพบครั้งที่ ๒(ล่าสุด) เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ณ บ้านตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ
เมื่อประชาชนพบโบราณวัตถุควรปฏิบัติดังนี้ ๑.แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรหรือฝ่ายปกครอง ๒.เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรตรวจพิสูจน์ ขุดค้นหรือขุดกู้โบราณวัตถุ ๓.ดำเนินการส่งมอบ-รับมอบโบราณวัตถุ ๔.กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซม จัดทำทะเบียนและศึกษาค้นคว้าข้อมูลโบราณวัตถุ ๕.เก็บรักษาหรือจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
---------------------------------------------------
เรียบเรียงและออกแบบ :
นางสาวพรเพ็ญ บุญญาทิพย์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
---------------------------------------------------
บรรณานุกรม
- ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์. “การกำหนดอายุและแบบของพระพุทธรูปบุทอง-บุเงิน ที่พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๗. - ศิริพร สุเมธารัตน์. “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์” กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๕๔. อ่านและแปลจารึกโดย : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
///ที่มาของภาพประกอบ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/khonkaen พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔
(จำนวนผู้เข้าชม 706 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน