เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เชี่ยนหมากและวัฒนธรรมการกินหมากของไทย
... กล่าวกันว่าการกินหมากอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่ไทยรับมาจากอินเดียมาช้านาน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จนถึงสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่๑๙ จึงมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกว่า ในเมืองสุโขทัยนั้นมีป่าหมากและป่าพลู จึงเป็นไปได้ว่าชาวสุโขทัยนิยมกินหมากกันมากจนถึงกับปลูกต้นหมากและต้นพลูไว้ในเมือง ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อย อาจไม่รู้ว่าการกินหมากเป็นอย่างไร? หมาก ( หมาก ชื่อเรียกต้นปาล์มหลายชนิดในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu Linn รสฝาด เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกการกินหมาก ) ใช้เนื้อในของผลหมากสดหรือหมากตากแห้ง ใบพลู ( พลู ชื่อไม้เถาชนิด Piper betal Linn. ในวงศ์ Piperaceae มีรสเผ็ดร้อนใช้กินกับหมากและใช้ทำยาได้ ) มักใช้ใบพลูสดที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป บางทีใช้ใบพลูแห้ง หรือเรียกว่าพลูนาบ (นาบกับกระทะที่ตั้งไฟจนร้อนให้แห้ง)
ปูนแดง ( ปูนแดง ปูนสุกที่ผสมกับผงขมิ้นและน้ำจะเป็นสีแดง สำหรับป้ายพลูกินหมาก )
การกินหมากอาจจะมีส่วนประกอบอื่นอีกตามความชอบของแต่ละคน เช่น การบูร สีเสียด ยาจืด ด้วยก็ได้ การกินหมากจะต้องป้ายปูนแดงลงบนใบพลูแล้วเคี้ยวไปพร้อมกับหมาก ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน ผู้กินหมากเคี้ยวไปเรื่อยๆ (คล้ายเคี้ยวหมากฝรั่ง) พร้อมกับบ้วนน้ำหมากทิ้งเมื่อมีน้ำหมากมากเกินไป การกินหมากจะไม่กลืนซากหมากหรือกากหมากที่เคี้ยว แต่ต้องคายทิ้ง เมื่อหมากหมดรสแล้ว
สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกินหมากอีกอย่างหนึ่งคือ “เชี่ยนหมาก” เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมาก มีรูปแบบแตกต่างและทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ไม้ หวาย ย่านลิเพา ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของเข้าของ เพราะนอกจากจะเป็นภาชนะใส่เครื่องกินหมากแล้ว ในสมัยก่อนเชี่ยนหมากยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมหรือเจ้าของอีกด้วย
การกินหมากเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในสมัยก่อน แม้แต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงในราชสำนักก็ยังกินหมากกันทั่วไป แม้ในสมัยต่อมาจะเลิกกินหมากแล้วก็ตาม เชี่ยนหมาก หรือ “พานพระขันหมาก” ก็ยังเป็นเครื่องประกอบอยู่ในเครื่องราชูปโภคที่ประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ดังที่ พระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ เรื่อง พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตอนหนึ่งว่า “... พานพระขันหมากสำหรับรัชกาลที่ ๑ ทรวดทรงและฝีมืองามยิ่งนัก เป็นฝีมือเอกประเภทเดียวกับ พานพระมหากฐิน และพานพระบายศรี ซึ่งเป็นชิ้นศิลปกรรมในรัชกลที่ ๑ และกล่าวกันว่าพานพระขันหมากนี้ ได้สร้างหุ่นไม้ขึ้นทดลองก่อน แต่เมื่อทรงได้ดีงามพอใจแล้ว จึงได้ลงมือทำด้วยทอง ...”
นอกจากเชี่ยนหมากจะเป็นหลักฐานการกินหมากของคนไทยแล้ว เชี่ยนหมากและอุปกรณ์การกินหมากอื่นๆ เช่น เต้าปูน กรรไกรหนีบหมาก ตลับสีผึ้ง ตะบัน สิ่งเหล่านี้ เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงให้เห็นความสามารถด้านการช่างของคนไทยในแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
----------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง :
นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
----------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรณ. มรดกวัฒนธรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999, 2544. เลขหมู่ 306.0899591 ว634ม
(จำนวนผู้เข้าชม 15191 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน