เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง"ภูมิปัญญาในการย้อมผ้าของชาวจันท์"
การทอผ้านับเป็นภูมิปัญญาของชาวสยามมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะเมืองจันทบุรีมีการทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองกันแพร่หลาย ดังพระราชหัตถเลขาพระพุทธเจ้าหลวงคราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเมื่อ พ.ศ.2419 ว่า...เมื่อวานนี้เราซื้อผ้าได้ที่บางกระจะ...ซึ่งผ้าที่พระองค์ทรงซื้อจากราษฎร ได้พระราชทานให้ผู้ติดตามและทหารตามเสด็จฯนั้นเป็นผ้าตาสมุกไหม ผ้าตาสมุกด้ายแกมไหม และผ้าพื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้มีพระราชนิพนธ์ชื่นชมผ้าไหมเมืองจันทบุรีว่า"ดูงามดีนัก"
การทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองของชาวจันท์ มีเทคนิคการย้อมผ้าด้วยการผสมสีจากเปลือกไม้หรือแก่นพรรณไม้ หรือวัสดุพื้นบ้านธรรมชาติ ทำให้สีคงทนอยู่ได้เป็นร้อยปี จากชื่อเสียงที่โด่งดังในการทอผ้าของคนไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงมีดำริที่จะบันทึกไว้เป็นตำรา จึงได้มีท้องตรามายังมณฑลต่างๆรวมทั้งมณฑลจันทบุรีให้รายงานสีสำหรับการย้อมด้ายและไหม
จากเอกสารจดหมายเหตุได้ระบุไว้ว่าชนิดของสีธรรมชาติที่ใช้ย้อมด้ายและไหมของมณฑลจันทบุรี มีความหลากหลายกว่ามณฑลอื่นๆ ได้แก่
สีเหลือง ทำด้วยเปลือกมะพูด
สีน้ำตาล ทำด้วยแก่นแกแล
สีเขียว ทำด้วยเปลือกมะพูดกับผงคราม
สีหมากรุก ทำด้วยเมล็ดลูกคำ
สีแดง ทำด้วยครั่งไทยและใบโรงทอง
สีช็อกแกแร้ต ทำด้วย เปลือกโปรง
สีดำ ทำด้วยลูกมะเกลือ
สีน้ำเงินคราม ทำด้วยใบคราม
สีม่วง ทำด้วยครั่งไทยกับใบคราม
(ภาษาที่ใช้ตามต้นฉบับ :ผู้เขียน)
ซึ่งสีธรรมชาติเหล่านี้เป็นพันธุ์ไม้ที่ส่วนใหญ่หาได้เฉพาะถิ่นในเมืองจันทบุรีเอง ส่วนจังหวัดตราดและจังหวัดระยองมีรายงานมาว่า จังหวัดระยองมีการย้อมผ้าด้วยมะเกลือเพียงเล็กน้อย ส่วนจังหวัดตราดไม่มีการย้อมผ้าเองเลย ///ผู้เขียนเห็นว่าเทคนิคการย้อมผ้าโบราณด้วยสีธรรมชาติน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะฟื้นฟูการทอผ้าพื้นเมือง และการย้อมผ้าด้วยภูมิปัญญาของบรรพชน ย่อมมีโอกาสในการสร้างมูลค่าและคุณค่าในวงการทอผ้าต่อไป
--------------------------------------------------------------------
ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ
--------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์.(13)มท2.5/29เรื่อง ให้สอบสวนการย้อมผ้าสมัยโบราณราชบัณฑิตยสภา.[14 ต.ค.-10 ธ.ค.2473].
(จำนวนผู้เข้าชม 2075 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน