เทคนิคและลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดเสม็ด
๑. การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐานในแต่ละห้องภาพนั้น เน้นจุดเด่นคือตัวภาพที่บรรยายลักษณะของพระภิกษุกำลังพิจารณาสภาพซากศพในลักษณะต่างๆ ตัวภาพมีขนาดใหญ่อยู่บริเวณด้านล่างของแต่ละห้องภาพ ตัวภาพที่เขียนเป็นภิกษุจะมีการเขียนสีตัวภาพแล้วตัดเส้นแบบแผนโบราณ แต่ผ้านุ่งหรือจีวรมีการไล่น้ำหนักของสี แสดงให้เห็นถึงผ้าที่พริ้วและทับซ้อนเสมือนจริง ทั้งตัวภาพที่เป็นซากศพแต่ละลักษณะ ช่างก็เขียนไปในทางเสมือนจริงเช่นกัน การเขียนภาพในเรื่องเกี่ยวกับจริยวัตรของพระภิกษุเช่นนี้เป็นราชนิยมในช่วงรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในงานจิตรกรรมฝาผนัง โดยการกำหนดอายุของจิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ดนี้ก็คงไม่ได้พิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพเพียงอย่างเดียวจะต้องพิจารณาในเรื่องของเทคนิคหรือมุมมองของการเขียนภาพของช่างเขียนและองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาคารสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏ หรือ การเขียนตัวภาพที่มีต่างชาติร่วมด้วยทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาได้เช่นกัน
ภาพที่ ๑ การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐาน
๒. การเขียนธรรมชาติ จิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ด เป็นการเขียนบรรยากาศโดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่กว้างและลึกระยะใกล้ ไกล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนท้องฟ้า ภูเขา ต้นไม้ หรือ ทะเล แม่น้ำ ช่างเขียนเป็นภาพลักษณะเสมือนจริงมีการไล่น้ำหนักแสงเงา ตามแบบแผนการเขียนภาพทางตะวันตก เนื่องจากในช่วงสมัยนั้นมีการนิยมการเขียนภาพลักษณะนี้ ทั้งยังเขียนภาพแบบมีระยะเช่นต้นไม้ที่อยู่ใกล้มีขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่อยู่ระยะไกลออกไปมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยตามลำดับ การเขียนใบไม้ใช้วิธีแต้มสี และกระทุ้งเพื่อไล่น้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงที่กระทบกับใบไม้
ภาพที่ ๒ การเขียนธรรมชาติ
๓. การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต มีการเขียนอาคารในรูปแบบทางตะวันตกผสมผสาน เขียนภาพอาคารแบบภาพเปอร์สเปคทีฟ (Perspective)แสดงถึงความลึกทั้งยังใช้เรื่องของสี ร่วมด้วย คือในระยะที่ลึกเข้าไปภายในอาคารจะไล่น้ำหนักของสีใช้สีเข้มทึบดำเพื่อแสดงให้เห็นถึงความลึกเข้าไปภายในเสมือนกับแสงที่ไม่สามารถส่องเข้าไปได้ ทั้งยังมีการเขียนสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นเข้าไปในภาพด้วย เช่นชีวิตของชาวเล การทำประมง รูปแบบเรือต่างๆ ซึ่งภาพที่ปรากฏนี้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องของประวัติศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วย
ภาพที่ ๓,๔ การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต
๔. มีการนำศิลปะ ๒ แขนง มาผสมผสานกัน ผนังด้านหน้าพระประธาน คือประติมากรรมและจิตรกรรม
ภาพที่ ๕ การเขียนผสมผสาน
๕. ยังคงมีการเขียนตัวภาพแบบประเพณีอยู่ คือ ภาพเทพชุมนุม นักสิทธิวิทยาธร โดยเขียนเครื่องทรงอาภรณ์ มีชฎาผ้านุ่งตัดเส้นแบบไทยประเพณี และมีการเขียนคั่นภาพด้วยเส้นสินเทา
ภาพที่ ๖,๗ การเขียนตัวภาพแบบประเพณี
ภาพที่ ๑ การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐาน
๒. การเขียนธรรมชาติ จิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ด เป็นการเขียนบรรยากาศโดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่กว้างและลึกระยะใกล้ ไกล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนท้องฟ้า ภูเขา ต้นไม้ หรือ ทะเล แม่น้ำ ช่างเขียนเป็นภาพลักษณะเสมือนจริงมีการไล่น้ำหนักแสงเงา ตามแบบแผนการเขียนภาพทางตะวันตก เนื่องจากในช่วงสมัยนั้นมีการนิยมการเขียนภาพลักษณะนี้ ทั้งยังเขียนภาพแบบมีระยะเช่นต้นไม้ที่อยู่ใกล้มีขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่อยู่ระยะไกลออกไปมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยตามลำดับ การเขียนใบไม้ใช้วิธีแต้มสี และกระทุ้งเพื่อไล่น้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงที่กระทบกับใบไม้
ภาพที่ ๒ การเขียนธรรมชาติ
๓. การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต มีการเขียนอาคารในรูปแบบทางตะวันตกผสมผสาน เขียนภาพอาคารแบบภาพเปอร์สเปคทีฟ (Perspective)แสดงถึงความลึกทั้งยังใช้เรื่องของสี ร่วมด้วย คือในระยะที่ลึกเข้าไปภายในอาคารจะไล่น้ำหนักของสีใช้สีเข้มทึบดำเพื่อแสดงให้เห็นถึงความลึกเข้าไปภายในเสมือนกับแสงที่ไม่สามารถส่องเข้าไปได้ ทั้งยังมีการเขียนสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นเข้าไปในภาพด้วย เช่นชีวิตของชาวเล การทำประมง รูปแบบเรือต่างๆ ซึ่งภาพที่ปรากฏนี้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องของประวัติศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วย
ภาพที่ ๓,๔ การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต
๔. มีการนำศิลปะ ๒ แขนง มาผสมผสานกัน ผนังด้านหน้าพระประธาน คือประติมากรรมและจิตรกรรม
ภาพที่ ๕ การเขียนผสมผสาน
๕. ยังคงมีการเขียนตัวภาพแบบประเพณีอยู่ คือ ภาพเทพชุมนุม นักสิทธิวิทยาธร โดยเขียนเครื่องทรงอาภรณ์ มีชฎาผ้านุ่งตัดเส้นแบบไทยประเพณี และมีการเขียนคั่นภาพด้วยเส้นสินเทา
ภาพที่ ๖,๗ การเขียนตัวภาพแบบประเพณี
(จำนวนผู้เข้าชม 2053 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน