เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
สืบร่องรอยชื่อ ‘พิมาย’ ที่เก่าที่สุด ผ่านจารึกวัดจงกอ
จารึกวัดจงกอ เป็น จารึกหินทราย สลักด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ข้อความกล่าวถึง ธุลีพระบาทกมรเตงกำตวนอัญศรีชยวีรวรมันเทวะ (พระเจ้าชัยวีรวรมัน) มีพระบรมราชโองการ ให้ดำเนินการรังวัดและปักเขตที่ดิน เพื่อกัลปนาพร้อมด้วยข้าทาส ถวายแด่กมรเตงชคตวิมาย ระบุ มหาศักราช 930 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 1551 ซึ่งนับเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” หรือ “พิมาย” ที่เก่าแก่ที่พบอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” ที่เก่าที่สุดแล้ว จารึกวัดจงกอ ยังกล่าวถึง บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์กัมพูชา อย่างพระเจ้าชัยวีรวรมัน ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 จากข้อความบนจารึกวัดจงกอเเละจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวีรวรมันจึงสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงถูกแย่งชิงราชสมบัติ โดย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1
ภายหลังได้โยกย้าย มาตั้งถิ่นฐาน ใกล้กับเมืองพิมาย โดยประเด็นนี้ เป็น 1 ใน 3 ประเด็น ที่จารึกวัดจงกอ ช่วยเราสืบสาวราวเรื่อง ที่เกี่ยวกับ พระเจ้าชัยวีรวรมัน ได้เป็นอย่างดี
-----------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
(จำนวนผู้เข้าชม 1216 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน