กรมศิลปากรประกาศปิดแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ถึงวันที่ ๓๑ ส.ค.นี้

          กรมศิลปากร ออกประกาศปิดการให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เก็บค่าเข้าชม หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และโรงละครแห่งชาติ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ ๓ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔
          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 โดยคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกาศใช้บังคับข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมทั้งออกคําสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัด ตามพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งขยายระยะเวลาการใช้ บังคับข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๘) ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
          อธิบดีกรมศิลปากรจึงประกาศให้แหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากรดังต่อไปนี้ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ปิดการให้บริการเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ ๓ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔
๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒. อุทยานประวัติศาสตร์
๓. โบราณสถานที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและจัดเก็บค่าเข้าชมตามที่บัญชีแนบท้ายกฎ กระทรวงกําหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่น สําหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
๔. หอสมุดแห่งชาติ
๕. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑
๖. โรงละครแห่งชาติ
          ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของแหล่งเรียนรู้ที่กรมศิลปากรมีคําสั่งให้ปิดการให้บริการ จัดให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในหน่วยงานดําเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้มากที่สุด โดยจะต้องไม่กระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และต้องดําเนินการภายใต้มาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Corona Virus Disease 2019 (COVID-19)) อย่างเคร่งครัด
          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากร สามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เช่น
- บริการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/th-th
- บริการของหอสมุดแห่งชาติ https://www.nlt.go.th
- ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง http://www.virtualmuseum.finearts.go.th
- ชมอุทยานประวัติศาสตร์เสมือนจริง http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th
- บริการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ http://www.nsw.finearts.go.th
- สืบค้นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม http://gis.finearts.go.th/fineart - ซื้อหนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร https://bookshop.finearts.go.th

          นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังปรับรูปแบบการเสวนาให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ เผยแพร่องค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรม ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (facebook) ของหน่วยงานในสังกัด และวีดิทัศน์สาระความรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร โดยสามารถติดตามรายละเอียดงานบริการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th














(จำนวนผู้เข้าชม 685 ครั้ง)

Messenger