เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณสันเขาด้านทิศเหนือ ภูฝ้าย เป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นที่ราบโดยรอบ ประมาณ 50-120 เมตร เเละห่างจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนเเละระหว่างไทยกับกัมพูชา มาทางทิศเหนือ ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้น ทั้งนี้โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย คงเป็นศาสนสถานประจำชุมชน ผลจากการขุดเเต่งศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในปี 2556 สามารถกำหนดอายุสมัย เเละรูปแบบการใช้งานโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ได้ดังนี้
ปราสาทประธาน สร้างด้วยอิฐ และศิลาเเลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีขนาดด้านละ 7.20 เมตร สร้างบนลานหินธรรมชาติของภูฝ้าย ปัจจุบันหลงเหลือเฉพาะส่วนฐานรองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อด้วยศิลาเเลง สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.75 เมตร มีศึกษาเปรียบเทียบกับปราสาทหลังอื่นๆ พบว่า แผนผังเรือนธาตุของปราสาทภูฝ้าย มีลักษณะคล้ายกับปราสาทเนียงเขมา กลุ่มโบราณสถานเกาะเเกร์ ปราสาทมีชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรเเบบแปรรูป พ.ศ.1487- 1511) และปราสาทเบง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรแบบบันทายสรี พ.ศ.1511-1544) จากรายงานฉบับดังกล่าว จึงกำหนดให้ ปราสาทภูฝ้าย น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 - กลางพุทธศตวรรษที่ 16
อีกไฮไลต์ สำคัญ ของปราสาทภูฝ้าย คือ ภาพสลักทับหลังพระวิษณุอนันศายินปัทมนาภะ (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ปัจจุบันไม่ได้ติดกับตัวปราสาท เเต่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
แม้ว่าร่องรอยหลักฐานของภูฝ้าย จะหลงเหลือไม่มากนัก เเต่ด้วยทำเลที่ตั้ง ซึ่งสร้างปราสาทอยู่บนเขาลูกโดด ในฐานะ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เเละเป็นสถาปนาภูเขานี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นในหลายแห่ง อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด 1 ปราสาทปลายบัด 2 และปราสาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกโดด ด้วยเช่นกัน
----------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
----------------------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง - ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีกุรุเกษตร. รายงานผลการปฏิบัติงาน โครงการขุดแต่งเเละจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.พ. . 2556.
(จำนวนผู้เข้าชม 1114 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน