เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แรงงานคนกับการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนน้ำพอง)
เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งอยู่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ตรงบริเวณที่เรียกว่า "พองหนีบ" ตำบลโคกสูง อำเภอน้ำพอง (ปัจจุบันเป็นอำเภออุบลรัตน์) จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 50 กิโลเมตร
ความเป็นมาของเขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ผู้เชี่ยวชาญจาก 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้ โดยความสนับสนุนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง และการป้องกันอุทกภัย ที่ประชุมได้ให้ผู้แทนทุกฝ่ายเสนอให้รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ (United Nations) คณะกรรมการฯได้ลงมติว่าใน 4 ประเทศ ที่ร่วมงานกันนี้ จะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำประเทศละ 2 สาขา ซึ่งสำหรับประเทศไทยเราได้เสนอโครงการน้ำพอง (ปัจจุบันคือ เขื่อนอุบลรัตน์) และโครงการน้ำพุง (ปัจจุบันคือเขื่อนน้ำพุง) เป็นสาขาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
ปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ดำเนินการสำรวจลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกหนึ่งปีต่อมาคณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้เสนอให้มีการพิจารณาโครงการน้ำพองเป็นอันดับแรก เพราะโครงการนี้จะให้ประโยชน์แก่การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือนานัปการ
ปี พ.ศ. 2503 องค์การสหประชาชาติ ได้ทำการว่าจ้างบริษัท Rogers International Corporation จากสหรัฐอเมริกาให้มาดำเนินการสำรวจเบื้องต้นให้กับโครงการน้ำพอง โดยใช้เงินจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (UN Special Fund) ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้นำรายงานการสำรวจเบื้องต้นเสนอต่อรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อขอกู้ยืมเงินมาเป็นค่าก่อสร้างโครงการ รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ลงมติให้ความสนับสนุนโดยผ่านสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W. หรือ Kreditanstall fur Wiederaufbau)
ปี พ.ศ. 2506 การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท Salzgitter Industriebau GmbH. แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อสำรวจรายละเอียดออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแม่น้ำพอง
ปี พ.ศ. 2507 ได้เริ่มก่อสร้างโครงการโดยการกู้เงินจาก สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W.) การก่อสร้างได้แล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508 และเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทรงพระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมือง พร้อมญาติโยมจากจังหวัดหนองคาย เดินทางไปทอดผ้าป่าที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2507 ระหว่างทางได้แวะชมการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ จากภาพถ่ายส่วนบุคคลของพระธรรมไตรโลกาจารย์ชุดนี้ ทำให้เห็นภาพการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ในปี พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเริ่มการก่อสร้าง มีการใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการก่อสร้าง แรงงานคนจึงมีความสำคัญในการก่อสร้างเขื่อน
--------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
--------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ภาพถ่ายส่วนบุคคล พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) (2) ภ หจช อบ สบ 8.3/1 เว็บไซต์ http://urdam.egat.co.th/
(จำนวนผู้เข้าชม 2207 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน