เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี “โบราณสถานวัดเกาะไม้แดง”
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง เนื่องในโครงการบูรณะและเสริมความมั่นคงโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ที่อยู่ใต้ดิน ก่อนที่จะดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงต่อไปในอนาคต วัดเกาะไม้แดงหรือโบราณสถานร้าง ต.อ.๑๕ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากประตูกำแพงหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และห่างจากวัดเจดีย์สูงไปทางทิศใต้ประมาณ ๙๐ เมตร หรือสามารถเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของวัดเกาะไม้แดงได้ตามลิ้งก์นี้ >>>https://goo.gl/maps/ARgstrsDtCFd48NM8
สภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดี ในหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระบุว่าโบราณสถานแห่งนี้เคยมีการขุดแต่งและบูรณะมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ นี้มีคูน้ำล้อมรอบ ๔ ด้าน ภายในประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลักเรียงตามแนวแกนทิศตะวันออกไปตะวันตกดังนี้คือ ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖.๓ เมตร เสาทำด้วยศิลาแลง ด้านหลังวิหารหรือด้านทิศตะวันตกของวิหาร มีมณฑปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๙.๗ เมตร ภายในมณฑปเป็นห้องสี่เหลี่ยมใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ห่างออกมาด้านทิศตะวันตก ๑๕ เมตร ปรากฏมณฑปสี่เหลี่ยมก่ออิฐ ขนาดกว้างยาวประมาณ ๗ เมตร ภายในเป็นห้องสี่เหลี่ยมประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น รอบๆ ฐานมณฑปสี่เหลี่ยมมีการก่อเป็นฐานยื่นออกมาสามด้าน นอกจากนี้ยังมีฐานเจดีย์รายเหลืออยู่ ๒๗ องค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐ ที่ก่อล้อมมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านและเจดีย์รายไว้ ๓ ด้านคือทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง ในขณะนี้ได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งไปแล้วบางส่วนเท่านั้นคือบริเวณพื้นที่ภายในกำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้าน และพื้นที่ระหว่างมณฑปทั้ง ๒ หลัง ทำให้ทราบในเบื้องต้นว่าก่อนการสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านที่เห็นในปัจจุบันนั้น มีการใช้งานพื้นที่มาก่อน เนื่องจากพบแนวอิฐที่เป็นกำแพงแก้วรอบล้อมกลุ่มฐานของเจดีย์ราย ฐานเจดีย์ราย นอกจากนี้ยังมีการขุดพบฐานวงกลมก่ออิฐฉาบปูนจำนวน ๒ ฐานซึ่งยังไม่ทราบหน้าที่การใช้งานที่ชัดเจน บริเวณใกล้ๆ กับมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านพบแนวอิฐที่ใช้รองรับโครงสร้างอาคารอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามณฑป สันนิษฐานว่าเป็นแนวอิฐของโครงสร้างอาคารหลังเก่าที่มีมาก่อนที่มีมาการก่อสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านซ้อนทับในสมัยหลัง
ทั้งนี้การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งยังไม่แล้วเสร็จ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีที่วัดเกาะไม้แดงได้ตามที่ลิ้งก์แผนที่ที่แนบในย่อหน้าที่สองของบทความ และสามารถติดตามคืบหน้าของการศึกษา วิจัย ทางโบราณคดีของโบราณสถานวัดเกาะไม้แดงได้ในรูปแบบรายงานทางวิชาการที่จะเผยแพร่ผ่านทางหน้าเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อไปในอนาคต หรือสามารถสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4100167870035690&id=180332008685982&sfnsn=mo
--------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 1721 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน