เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง"สายทางสามล้อไทย"
เอกสารจดหมายเหตุมีความหลากหลายสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ลายลักษณ์ โสตทัศนจดหมายเหตุ แบบแปลน แผนผัง และสื่อวัสดุคอมพิวเตอร์
"ปฏิทิน"นับเป็นเอกสารจดหมายเหตุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ นอกจากภาพ ฟิล์ม ส.ค.ส. โปสเตอร์ ฯลฯ
"ปฏิทิน"บอกอะไรเราได้บ้าง? อาจมีใครบางคนสงสัย สำหรับผู้เขียนเองที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานหลากหลายหน้างาน จึงขอเปรียบเทียบปฏิทินว่าเหมือนบทคัดย่อหรือสาระสังเขป ที่บริษัทจัดทำปฏิทินได้นำเสนอในรูปแบบชุดความรู้แบบย่อที่ผ่านการวิเคราะห์จากเอกสารชั้นต้นและชั้นลอง แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการอ้างอิงให้ไปค้นคว้าต่อ
"สายทางสามล้อไทย"เป็นปฏิทินขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ประจำปีพ.ศ.2537 ได้จัดทำไว้อย่างน่าสนใจว่า...
บนสายทางของการเดินทาง หลากหลายพาหนะที่นำไปสู่จุดหมาย"สามล้อ"เป็นวิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อก็ยังคงผูกพันเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในสังคมไทยเป็นภาพลักษณ์ของความภูมิใจในความสามารถแห่งการประดิษฐ์ของคนไทย ที่นำไปประยุกต์เข้ากับการประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างกลมกลืน ได้เล่าถึงการกำเนิดสามล้อว่า...
พ.ศ.2476 รถสามล้อได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมาโดยนาวาอากาศเอก เลื่อน พงษ์โสภณ นำ"รถลาก" หรือ"รถเจ๊ก"มาดัดแปลงร่วมกับรถจักรยาน รถสามล้อแบบนี้ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้รับส่งผู้โดยสารแพร่หลายไปทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน ในระยะเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นพาหนะอย่างอื่นให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นตามประโยชน์ใช้สอย เช่นสามล้อเครื่อง ซาเล้ง ตุ๊ก-ตุ๊ก ทั้งแบบเดอลุกซ์และแบบสองแถว สามล้อเครื่องรถยนต์(ยังมีให้เห็นที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี)สกายแล็บ ไก่นา และอื่นๆ
นอกจากปฏิทินชุดนี้ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปฏิทินชุดอื่นๆอีกมากที่น่าสนใจ เพื่อนๆลองกลับไปค้นในกล่องเก็บหนังสือเก่าๆที่วางทิ้งไว้บนชั้น อาจพบเรื่องราวของปฏิทินเก่ามากมาย หรือเมื่อได้ชมจนเบื่อแล้ว อยากส่งต่อ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ยินดีรับมอบด้วยความเต็มใจยิ่งค่ะ
------------------------------------------------------
ผู้เขียน : นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
------------------------------------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี.ปท หจช จบ 148 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เรื่อง สายทางสามล้อไทย.พ.ศ.2537
(จำนวนผู้เข้าชม 1310 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน