เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เข็มทิศ
เข็มทิศ
ทะเบียน
๒๗/๓๖/๒๕๓๖ (๑๕/๒๕๓๖/๑)
อายุสมัย
รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) ทองเหลือง ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๗.๕ เซนติเมตร สูง ๒ เซนติเมตร
ประวัติ
ใช้สำหรับการเดินทางเรือเล็กบริเวณชายฝั่ง เมื่อประมาณ ไม่ต่ำกว่า ๘๐ ปีมาแล้ว เป็นของขุนวิจารณ์โลหะกิจ นายเริก ณ ตะกั่วทุ่ง อดีตนายอำเภอถลางคนแรก สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
เข็มทิศ คือ เครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือ การบอกเป็นทิศที่สำคัญ ๔ ทิศ
สันนิษฐานกันว่าเข็มทิศเป็นการค้นพบของชาวจีน โดย โจเซฟ นีดแฮม(Joseph Needham) นักวิทยาศาสตร์สาขาชีวเคมี ชาวอังกฤษ ผู้ที่ใช้เวลาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับจีนอย่างยาวนาน กล่าวว่า ชาวจีน “ล้ำหน้าความรู้เกี่ยวกับการเบี่ยงเบนขั้วแม่เหล็กของชาวยุโรปไปราวหกศตวรรษ ชาวจีนคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนขั้วแม่เหล็กก่อนที่ยุโรปจะรู้จักขั้วแม่เหล็กด้วยซ้ำ” ไม่มีการกล่าวถึงเข็มทิศแม่เหล็กและขั้วสนามแม่เหล็กโลกในงานเขียนใดๆ ของตะวันตกจนกระทั่งปี ค.ศ.๑๑๙๐ (พ.ศ.๑๗๓๓) ซึ่งชาวจีนมี เข็มทิศมาแล้วถึงหนึ่งพันห้าร้อยปีก่อนหน้านั้น โจเซฟ นีดแฮม สรุปไว้ว่า ยุโรปได้รับเข็มทิศมาจากชาวจีน และไม่ได้เข้าสู่ยุโรปผ่านทางชาวอาหรับ เป็นไปได้ว่าชาวยุโรปและชาวอาหรับดูเหมือนจะรับเข็มทิศแม่เหล็กมาใช้เดินเรือในช่วงเวลาประมาณเดียวกันจากการเดินทางติดต่อทางเรือกับประเทศจีน ถือได้ว่าจีนเป็นชาติแรกของโลกที่ประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น และนำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรือ สันนิษฐานว่าในประเทศไทยน่ามีการได้รับการใช้เข็มทิศจากจีนด้วยเช่นกัน เข็มทิศ แม้เป็นเครื่องมือที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบันแต่เป็นเครื่องแสดงในเห็นถึงความสามารถของชาวจีนตั้งแต่อดีตที่มีการค้นพบเครื่องมือชิ้นสำคัญให้กับโลกใบนี้ไว้ใช้ประโยชน์ จวบจนปัจจุบัน
-----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
-โรเบิร์ต เทมเพิล. ต้นกำเนิด ๑๐๐ สิ่งแรกของโลก. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 25619 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน