เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
กริช
“กริช” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “กริช คืออาวุธชนิดหนึ่งใช้มีดสองคมปลายแหลม ใบมีดตรงก็มี คดก็มี เป็นของชาวมลายู” กริชสามารถพกพาเป็นเครื่องดับและเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่ากริชเป็นอาวุธที่มีมเหศักดิ์ ศรัทธากันว่าดั้งเดิมเป็นศัสตราภรณ์ประจาองค์พระศิวเทพ หรือพระอิศวร กริชอุบัติขึ้นด้วยกฤษฎาภินิหาร จากบุญฤทธิ์และเทวฤทธิ์ผสมกัน เช่นว่า กัตริย์ฮินดูสกุตรัม เมื่อประสูติมาก็มีกริชอยู่ข้างพระวรกาย ชื่อว่า กริช “ปโสปติ” ซึ่งคาว่า ปโสปติ ก็คือพระนามหนึ่งของพระศิวะ จากอดีตจนถึงปัจจุบันคนในสังคมเชื่อว่ากริชเป็นอาวุธที่เกิดขึ้นจากคติความเชื่อของฮินดู-ชวา และเป็นอาวุธที่เป็นตัวแทนเทพในศาสนาฮินดู จากการศึกษารูปแบบของกริชในภาคใต้ของไทยพบว่ามีกริชหลากหลายรูปแบบ แต่สาหรับกริชที่มีการพัฒนาจนมีรูปทรงและลวดลายที่เป็นรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นมีสองรูปแบบ คือ
๑. รูปแบบสกุลช่างปัตตานี เรียกชื่อเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าตากริชแบบ “ปาแนซาฆะห์” ลักษณะตากริชจะเรียบ มีสันตรงกลางคล้ายอกไก่ทั้งสองข้าง มีทั้งแบบคดและแบบตรง ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีลายในเนื้อเหล็กและไม่มีลาย ส่วนด้ามกริชหรือที่นิยมเรียกว่า “หัวกริช” นิยมแกะสลักจากไม้เนื้อแข็ง
๒. รูปแบบสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช ในส่วนของใบกริชหรือตากริชเป็นแบบ “ปาแนซาฆะห์” เหมือนสกุลช่างปัตตานี แต่มีลักษณะที่ต่างกันตรงฝักกริชที่ปีกฝักมีความโค้งดูคล้ายเขาควาย ปลายปีกฝักบางเล่มจะทาให้ม้วนปลายคล้ายเลยหนึ่งแบบเลขไทยหรือยอดผักกูด นิยมรัดฝักกริชด้วยปลอกเงินเป็นเปลาะๆ ส่วนหัวกริชเป็นหัวนกพังกะแบบไม่มีเคราใต้คาง แกะลายเป็นร่องตื้นๆ ผิดกับฟังกะแบบสกุลช่างปัตตานีที่นิยมแกะร่องลึก และมีลวดลายที่ละเอียดมากกว่า “กริช” ที่ยังคงความงามมีพลังและพลานุภาพ ที่มีคุณค่าสร้างความภูมิใจให้กับผู้ครอบครองเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
--------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
--------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
-ประพนธ์ เรืองณรงค์. “กริช”.ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 3, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2525) : หน้า 64-69 -วาที ทรัพย์สิน.“กริช : สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมุสลิมในชายแดนใต้”วัฒนธรรมไทย. ปีที่ 49, ฉบับที่ 6 (มิ.ย. 2553) : หน้า 22-25
(จำนวนผู้เข้าชม 12538 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน