เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
รอยพระพุทธบาทจากวัดเขาพระบาทใหญ่
สืบเนื่องจากบทความเรื่อง การดำเนินงานทางโบราณคดีโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ก่อนหน้าที่ทางแอดมินเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เผยแพร่ไป ซึ่งได้เกริ่นถึงรอยพระพุทธบาทที่วัดเขาพระบาทใหญ่ไว้ว่า เมื่อ พุทธศักราช 1902 พระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดฯ ให้จำลองแบบรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฏ ประเทศศรีลังกา และสร้างรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ ณ ยอดเขาสุมนกูฏ (เขาพระบาทใหญ่) บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสุโขทัย ในครั้งนี้ทางเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท อันถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบจากเขาพระบาทใหญ่
รอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานไว้ ณ ฐานประดิษฐานรอยพระพุทธบาททางทิศตะวันตกของวิหารวัดเขาพระบาทใหญ่ จนกระทั่งเมื่อพุทธศักราช 2470 ท่านเจ้าคุณโบราณวัตถาจารย์ ได้เล็งเห็นว่า หากยังคงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่บนเขาวัดพระบาทใหญ่ในที่เดิมต่อไป อาจถูกผู้ร้ายทุบแตกทำลาย หรือทำให้เสียหายได้ จึงเกณฑ์ชาวบ้านและพระเณรบ้านธานี และบ้านเมืองเก่า อัญเชิญพระพุทธบาทศิลาลงมาจากเขาพระใหญ่ โดยใช้แรงคนจำนวนมากชักลากด้วยความระวัง คือ ใช้หม่อนไม้ท่อนกลม ๆ หลายอันเป็นหมอนลูกกลิ้งมีไม้กระดานรองรอยพระพุทธบาท ใช้เชือกที่ทำด้วยหนังสัตว์ขันชะเนาะ 3 สาย ขึงตรึงไว้กับต้นไม้ ค่อย ๆ ปล่อยเชือกประคองพระพุทธบาทลงมา แล้วจึงใส่ล้อเกวียนนำไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปกลางน้ำในวัดตระพังทองดังปรากฏเช่นในปัจจุบัน
รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทข้างขวา จำหลักหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 202 เซนติเมตร ยาว 207 เซนติเมตร บริเวณภายในกรอบหินที่สลักเป็นพระบาทพุทธบาทมีขนาดความกว้าง (วัดจากขอบนอกนิ้วหัวแม่เท้าถึงขอบนอกของนิ้วก้อย) 58 เซนติเมตร ยาว (วัดจากปลายสุดของนิ้วกลางถึงปลายสุดของส้นพระบาท) 131 เซนติเมตร ตรงกลางรอยฝ่าพระพุทธบาทสลักเป็นธรรมจักรขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตร และสลักเป็นตารางสี่เหลี่ยมเป็นช่อง ๆ อยู่โดยรอบธรรมจักร แกะสลักภายในเป็นภาพเขียนมงคล 108 ประการอยู่ภายใน ลักษณะการของการจัดวางลวดลายมงคล 108 ประการ ที่บรรจุอยู่ในช่องตาราง และเว้นที่ตรงกลางพระบาทสำหรับลวดลายธรรมจักรนี้ มีความคล้ายคลึงกับรอยพระพุทธบาทบาทที่พบในพุกาม ประเทศเมียนมาร์
บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านซ้ายของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระพุทธสาวกยืนพนมมือถือช่อดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท ซึ่งแสดงออกถึงการกราบไหว้ บูชารอยพระพุทธบาทอย่างนอบน้อมคารวะ ความสูงของพระพุทธสาวกเฉพาะส่วนองค์ (จากเศียรถึงพระบาท) 40 เซนติเมตร โดยพระพุทธสาวกยืนอยู่บนแท่นขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร สูง 9 เซนติเมตร
บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านขวาของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระอิศวรยืนย่อองค์อ่อนน้อมพนมมือถือดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท พระอิศวรมีขนาดความสูงเท่ากันกับภาพพระพุทธสาวก องค์พระอิศวรทรงสวมมงกุฎ สร้อยสังวาล เครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย
ส่วนบริเวณขอบแผ่นศิลาของรอยพระพุทธบาทแกะสลักเป็นรูปดอกจันทร์เรียงกันเป็นขอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อไปกับขอบแผ่นศิลา ด้านยาวมีดอกจันทร์ด้านละ 35 ดอก ด้านกว้างมีดอกจันทร์ด้านละ 19 ดอก รวมทั้งสี่ด้านมีจำนวน 108 ดอก
การสร้างรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุมนกูฏของพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นการจำลองมาทั้งลักษณะรูปแบบของรอยพระพุทธบาท และชื่อเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท แสดงให้เห็นถึงการเน้นย้ำว่ารอยพระพุทธบาทมีความสำคัญ อันประดิษฐานอยู่บนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือเขาสุมนกูฏดังเช่นที่ประเทศศรีลังกา อีกทั้งยังแสดงถึงการรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ อันสัมพันธ์กับหลักฐานการรับพุทธศาสนาประเภทอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ด้วย เช่น การปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ คติเรื่องเจดีย์ช้างล้อม เจดีย์ทรงลังกา เป็นต้น ดังนั้นเขาพระบาทใหญ่จึงถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์ได้ และในแง่ของการเป็นเขตพุทธสถานบนเขาตามคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของเมืองสุโขทัยด้วย
------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย
นายสุเมธ สารีวงษ์ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
------------------------------------------------
สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view... อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท หนังสือที่ระลึกพระราชพิธียกจุลมงกุฏและสมโภชพระพุทธบาทจังหวัด สระบุรี พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542. นันทนา ชุติวงศ์. รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2533. . ติดตามข้อมูลอื่นๆได้ที่เพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย https://www.facebook.com/skt.his.park หรือให้คำแนะนำข้อมูลได้ที่โพสต์ต้นฉบับ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3920864161299396&id=180332008685982
(จำนวนผู้เข้าชม 1035 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน