เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
อับเฉาเรือ ประติมากรรมจีนในวัดวาอาราม
ความหมายของคำว่า
"อับเฉา"
สามารถจำแนกได้ 3 ความหมาย
ความหมายที่ 1
หมายถึง ไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน
ความหมายที่ 2
หมายถึง ของถ่วงเรือสำเภาเพื่อกันเรือโคลงซึ่งอาจเป็นหินและทราย หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักมาก เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า เอี๊ยบชึง แปลว่าของหนักที่ใช้ถ่วงใต้ท้องเรือเดินทะเล
ความหมายที่ 3
หมายถึงจะใช้ระบบของน้ำอับเฉา (Ships’ Ballast Water) เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือสามารถทรงตัวได้ดี
อับเฉา ยังเป็นชื่อเรียกกลุ่มประติมากรรมหินศิลปะจีนที่พบได้ทั่วไปตามวัดวาอารามและสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 -รัชกาลที่ 3) สยามได้ทำการค้ากับจีน มีการบรรทุกสินค้า ที่มีน้ำหนักมาก เช่น เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว ไม้ งาช้าง หนังสัตว์ และข้าว ไปขายยังจีน เมื่อขนถ่ายสินค้าออกจากเรือแล้ว ได้ซื้อสินค้าจากจีนกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเบา เมื่อเดินทางออกทะเลทำให้เรือโคลง จึงได้ซื้อประติมากรรมศิลา ซึ่งแกะสลักเป็นรูปต่างๆ เช่น เทพ ทวารบาล คน และสัตว์ เพื่อใช้ถ่วงน้ำหนักเรือไม่ให้เรือโคลงเมื่อออกทะเล และเมื่อนำกลับมาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประดับตกแต่งสถานที่ หรืออาคารต่างๆ ให้สวยงามได้
-------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี
------------------------------------------------
อ้างอิง
1.ประติมากรรมศิลาจีนกับความนิยมศิลาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสรรพศาสตร์ประวัติศาสตร์ศิลป์ เอกสารประกอบโครงการประชุมวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 40 ปี ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2557
2.เปรมวดี วิเชียรสรรค์.อับเฉา:ประติมากรรมเครื่องศิลาของจีนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม.2527
3.กรมศิลปากร.โบราณคดีสีคราม.โครงการโบราณคดีใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ,2531
4.ไขแสง สุขะวัฒนะ.ประวัติศาสตร์ไทย ภาค 2 สวนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2522 5.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544
(จำนวนผู้เข้าชม 8617 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน